ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

โครงการ"เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้ได้ทุน ได้ผลงานวิชาการ และได้รับบริการวิชาการแก่ชุมชน"

ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567 ฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงร่างวิจัยเพื่อตอบโจทย์วิจัยที่มีผลกระทบสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาโครงร่างงานวิจัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุน ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ประทีป พืชทองหลาง อาจารย์ประจำแผนกวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นวิทยากรให้ความรู้ ในหัวข้อ “วิเคราะห์โจทย์วิจัย  แหล่งทุน และเทคนิคการตั้งชื่อโครงการวิจัย การเขียนวัตถุประสงค์ การกรอกแบบฟอร์มแหล่งทุนต่างๆ” โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ประกอบด้วยคณาจารย์ นักวิชาการ

ภาพ : เอกฤทธิ์ ปทุมพร
ข่าว : กรุณา โสฬสจินดา
รายงานข่าวโดย : ศรศักดิ์  อุระ


 

 

อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมการแถลงข่าวความสำเร็จในการก้าวเป็นผู้นำในเรื่องการวิจัยเชิงสังเคราะห์และการนำข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มารักษาผู้ป่วย

รศ.ดร.เชษฐา งามจรัส และ รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม จากสาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งเป็นสมาชิก Cochrane Thailand ได้เข้าร่วมการแถลงข่าวความสำเร็จในการก้าวเป็นผู้นำในเรื่องการวิจัยเชิงสังเคราะห์และการนำข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มารักษาผู้ป่วย รวมถึงการสร้างนักวิจัยในไทยและต่างประเทศ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมหนองแวง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(รายละเอียดข่าว: https://th.kku.ac.th/178587/)

ข่าว : รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม 
รายงานข่าวโดย : ศรศักดิ์ อุระ

 


 

"สุดเจ๋ง!! สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (OHSWA) ประเทศไทย เข้าแนะนำตัวกับองค์กรความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (The Asia-Pacific Occupational Safety and Health Organization) หรือ APOSHO ในฐานะสมาชิกน้องใหม่แล้ว"

เมื่อวันที่ 24-26 ตุลาคม 2566 สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (OHSWA) เข้าร่วมงาน Annual General Meeting & Conference APOSHO ครั้งที่ 37 ณ ประเทศมาเลเซีย นำทีมโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ (ที่ปรึกษาสมาคมฯ) พร้อมด้วยคุณกฤษฎา ชัยกุล (อุปนายกบริหารสมาคมฯ) และ รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง (ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์สมาคมฯ และประธานหลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มข.) เพื่อแนะนำ OHSWA ต่อ APOSHO ในฐานะองค์กรสมาชิกใหม่ที่ผ่านการอนุมัติเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก (full member) ของ APOSHO ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
.
APOSHO เป็นองค์กรความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยจะมีการจัดประชุมประจำทุกปีในประเทศสมาชิก เป็นเวทีนำเสนอผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย กับองค์กรหรือหน่วยงานระดับนานาชาติ ทั้งในรูปแบบของการสัมมนา การบรรยายทางวิชาการ และการจัดนิทรรศการ เพื่อพัฒนางานความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ให้แรงงานมีความปลอดภัยในการทำงาน
 
 
 
---------------
ข่าวโดย: อาจารย์ ดร.วรวรรณ ภูชาดา
เนื้อหาและภาพโดย: สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (OHSWA)
 
 

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง คว้ารางวัล MEDICHEM Award จาก ICOH Occupational Health in Chemical Industry

ระหว่าง 4-6 กันยายน พ.ศ. 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหาร MEDICHEM (The International Scientific Association for Occupational and Environmental Health in the Chemical Sector) โดย รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ได้รับรางวัล “MEDICHEM Award” เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 50 th Anniversary of MEDICHEM และ เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ “The MEDICHEM 51 st International conference – Sustainability: Practical Aspects for the Chemical Sector” เจ้าภาพโดย MEDICHEM (an affiliate of ICOH) และ ICOH Scientific Committee-Occupational Health in the Chemical Industry (OH CI) ณ เมือง Dresden ประเทศ Germany โดยได้รับเชิญให้บรรยายเรื่อง “Assessment of exposure to BTX among gasoline station workers using the occupational health risk matrix model, hazard index and haematological alterations การประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญตัวแทนจากประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการใช้สารเคมีในงานอาชีวอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น NIOSH ซึ่งการประชุมจะจัดขึ้นทุกปี ในปี ค.ศ. 2024 จัดร่วมกับ ICOH2024 ณ ประเทศ MOROCCO และต่อมาประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 2025

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์  ปทุมพร / Facebook: ปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ม.ขอนแก่น

ประชุมวิชาการนานาชาติ 6th ANOH Conference 2023 ณ มนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

 

 

หลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย นำเสนอผลงานทางวิชาการในงานประชุมวิชาการนานาชาติ 6th ANOH Conference 2023 ณ มนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม 2566      รองศาสตราจารย์.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเครือข่าย Asian Network of Occupational Hygiene - ANOH board และเป็นคณะกรรมการวิชาการ และร่วมนำเสนอผลงาน พร้อมนำนักศึกษาในหลักสูตร คือ น.ส.พรไพลิน ทิศอุ่น และ น.ส.สิริพัชร ช่วงกรุด เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานทางวิชาการ ที่ 6th ANOH Conference : Exploring the Asian Way: Collaboration, Innovation and Adaptation for the Future of IH in Asia ซึ่งการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก ได้แลกเปลี่ยนวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกับเครือข่ายของหลายประเทศในเอเชียที่เข้าร่วม ด้านอาชีวสุขศาสตร์ ความปลอดภัยในการทำงาน และมาตรฐานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ทั้งนี้ขอขอบคุณคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่สนับสนุนทุนบางส่วนในการเดินทางไปร่วมงานประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานครั้งนี้

 

 

      

ภาพ ข่าวโดย / fb : ปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ม.ขอนแก่น

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ประเด็นการจัดการปัญหามลพิษอากาศ PM 2.5

รองศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ สกุลคู หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ประเด็นการจัดการปัญหามลพิษอากาศ PM 2.5 เป็นวิทยากร ในหัวข้อ สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และความรุนแรง ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-17.00 น. ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ โรงแรมชาราวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (สสส) โดยมีผู้เข้าร่วมผู้แทน สสส, และนำเสนอจากนักวิชาการ จาก 4 จังหวัด ได้แก่

                     1.จังหวัดขอนแก่น 

                     2.จังหวัดอุดรธานี 

                     3.จังหวัดอุบลราชธานี

                     4.จังหวัดนครราชสีมา

          และในวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-17.00 น. ได้เป็นวิทยากรและประชุม ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ประเด็นกลไกการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ดำเนินงานโดย กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) มีผู้เข้าร่วมหลายหน่วยงาน ทั้งในส่วนของราชการ เอกชน อบต. รพ.สต. และเครือข่าย อสม. สส.อ. รวมทั้งสิ้น จำนวน 60 คน

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์  ปทุมพร / รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู