ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

คณะสาธารณสุขศาสตร์ จับมือร่วมค้นหาหัวข้อวิจัย ร่วมกับ GIS และ Cohort

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีมโดย รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และบัณฑิตศึกษา (ศ.สุพรรณี พรหมเทศ) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย คณบดี (ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล) จับมือร่วมค้นหาหัวข้อวิจัย โดยมีประเด็นหัวข้อที่เห็นชอบร่วมกัน ได้แก่ GIS และ Cohort และจัดทำร่างโครงการวิจัยร่วมกันต่อไป

 

 

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ "KKU Publication Clinic และการบริการของฝ่ายวิจัย มข."

ศ.สุพรรณี พรหมเทศ รองคณบดีฝ่ายวิจัยฯ และ ฝ่ายวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดกิจกรรมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ "KKU Publication Clinic และการบริการของฝ่ายวิจัย มข." โดยมีวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงการใช้บริการโครงการเพิ่มผลผลิตการตีพิมพ์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเข้าสู่ "มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับโลก" ในวันที่ 26 พ.ย. 58 ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สพญ.ธิดารัตน์ บุญมาศ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย และคณะ การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณาจารย์ และได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิด

 

 

 

 

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ ณ ประเทศญี่ปุ่น

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ ให้กับนักศึกษา ระหว่างวันที่ 15-20 มีนาคม 2558 ณ Department of Ecology และDepartment of Community and Global Health, Graduate School of Medicine, University of Tokyo

          คณะนักศึกษาระดับปริญญาโท และคณาจารย์ กว่า 47 คน ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ กับ Department of Ecologyและ Department of Community and Global Health, Graduate School of Medicine, University of Tokyo ระหว่างวันที่ 15-20 มีนาคม 2558 ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี จาก Professor Masamine Jimba และคณะ ของ Department of Community and Global Health, Graduate School of Medicine, University of Tokyo

         กิจกรรมแลกเปลี่ยนดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ให้มหาบัณฑิตมีความคิดเชิงบูรณาการ สามารถวิเคราะห์ วางแผน และดำเนินการในงานทางด้านสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม  และเพื่อให้เป็นการเพิ่มพูนศักยภาพให้สามารถนำความรู้ทางด้านสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมไปพัฒนางานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของประชาชนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนในสังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่สามารถป้องกันได้

หลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตรจึงได้เล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาพัฒนา แสวงหาองค์ความรู้ และรูปแบบการปฏิบัติงานที่ดีทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการรับรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ในด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพทางด้านสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข  และการกิจกรรมแลกเปลี่ยน ณ ต่างประเทศ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มทักษะและปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ที่กว้างไกลให้แก่นักศึกษา และยังได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงสถานการณ์แห่งความเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศในปัจจุบันอีกด้วย

   

อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมนำเสนอผลงาน ในการประชุม FEWS Challenge

อาจารย์ ดร. ฤทธิรงค์ จังโกฏิ ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุม The 2nd International Symposium on Food-Energy-Water Security Challenge: A Multi-dimensional Perspective ที่จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา ขอนแก่น โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายวิจัยและถ่ายทอกเทคโนโลยี และฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม นอกจากนี้แล้วการจัดการประชุมดังกล่าวยังมี University of Technology เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมจัดการประชุมด้วย

          เมื่อวันพุธที่ 10 ธันวาคม 2557 อาจารย์ ดร. ฤทธิรงค์ จังโกฏิ ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Spatial Planning Integrated Development Plan of Local Administration Organization: Case Study of Bua Nguen Tambon Administration Organization และร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมกว่า 10 ประเทศ

มหาวิทยาลัย Tohoku Gakuin University ประเทศญี่ปุ่นวางแผนร่วมวิจัยกับ มข.

Tohoku Gakuin University เมือง Sendai ประเทศญี่ปุ่น หารือร่วมวิจัย ก่อนเสร็จสิ้นโครงการวิจัยโครงการแรกที่ทำร่วมกับ มข.

เมื่อวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2557 Prof.Yoshinobu Ishibashi คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ Tohoku Gakuin Gakuin University ประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยผลกระทบของน้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว และถือโอกาสหารือการทำวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบน้ำประปาร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ การมาเยือนครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดี ในการขยายความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่าง Tohoku Gakuin University กับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ 6th ICPH:GMS

เมื่อวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2557 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด ผศ.ดร.สมศักดิ์     พิทักษานุรัตน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมจัดประชุมวิชาการ 6th International Conference on Public Health among the Greater Mekong Sub-Regional Countries “Health Service system in a Borderless Community: Human Resource Development for a District Health System” ในพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เด่นพงษ์  สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 500 คน ประกอบด้วยบุคลากรด้านสาธารณสุข นักวิชาการ นักวิจัย ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ทั้งในและต่างประเทศ การประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากProf. Sir Richard Peto (Medical Statistics and Epidemiology, University of Oxford, UK) ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลก และได้รับพระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล กรุณารับเป็น Key note Speech: Halving Premature Death

 

ผลจากการจัดประชุมในครั้งนี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้รับประโยชน์ ดังนี้

            1) จะมีการทำ MOU ร่วมกับ KUNMING MEDICAL UNIVERSITY และแลกเปลี่ยนนักศึกษา

            2) มหาวิทยาลัยในอินโดนีเซียที่มาร่วมประชุมได้ทำ MOU กับคณะ และจะส่งนักศึกษามาเรียน รวมทั้งยินดี รับนักศึกษาแลกเปลี่ยน และเชิญอาจารย์ไปสอน

            3) Prof. sir Richard Peto ให้ความสนใจและยินดีให้การสนับสนุนเรื่องงานวิจัย ซึ่งจะได้ประสานในรายละเอียดต่อไป

            4) นอกจากนี้ ยังมีการติดต่อประสานงานเรื่อง การเรียนการสอน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ทำวิจัยร่วมกัน ในประเด็นต่างๆของหลักสูตร และความสนใจเฉพาะตัวของอาจารย์แต่ละท่าน

            5) จะมีการจัดอบรม เกี่ยวกับ HIA ร่วมกับ สช.

            6) อาจารย์และนักศึกษา โดยเฉพาะบัณฑิตศึกษา ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ ทั้งการนำเสนอ การเป็นพิธีกรเป็น chair ,co chair, staff ตามห้องต่างๆ ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น