ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

โครงการเสวนาวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุข ตามสถานการณ์ปัจจุบัน ประจำปีงบประมาณ 2565 หัวข้อ “เหตุรำคาญด้านเสียงและความสั่นสะเทือน”

ในวันที่ 25 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ณ ห้องตักศิลา อาคารอรุณ จิรวัฒน์กุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดโครงการเสวนาวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุขตามสถานการณ์ปัจจุบัน ประจำปีงบประมาณ 2565 หัวข้อ “เหตุรำคาญด้านเสียงและความสั่นสะเทือน” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ (คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์) และนายวิรุฬห์ ฤกษ์ธนะขจร (ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น)  เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการดำเนินโครงการ ซึ่งมีหัวข้อในการเสวนาและวิทยากรดังนี้

(1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเสียงและผลกระทบต่อสุขภาพ  วิทยากรโดย รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคูหัวหน้าสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

(2) เทคนิคการตรวจวัดเสียงรบกวน การวิเคราะห์ แปลผล และเขียนรายงาน  วิทยากรโดย นายธนาวุธ โนราช นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น)

(3) กฎหมายสาธารณสุข กับการควบคุมเหตุรำคาญและการออกคำสั่งทางปกครองที่ถูกต้อง  วิทยากรโดย          นางสาวทัตพิชา  คลังกลาง  นิติกร หน่วยงานศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

(4) เทคโนโลยีการจัดการและแก้ไขปัญหาเสียงรบกวน  วิทยากรโดย อาจารย์ ดร. ชัชวาล อัยยาธิติ  อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 
 
 
  

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีผลต่อสุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 24 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมราชาวดีรีสอร์ทแอนด์โอเทล ได้มีการประชุมคณะทำงาน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีผลต่อสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำหรับพื้นที่การดำเนินงาน เป็นการนำร่องใน 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น อุดรธานี  นครราชสีมา และอุบลราชธานี โดยขอนแก่นมีการดำเนินใน 2 กิจกรรมหลัก  คือ

(1) การพัฒนาแนวทางรูปแบบการบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดขอนแก่น        มี รศ.ดร.บัวพันธ์  พรมพักพิง กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้รับผิดชอบหลัก 

(2)การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)  ในจังหวัดขอนแก่น                      มี รศ.รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู คณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก โครงการนี้มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 1 มี.ค 65 - ส.ค 66

 

 
 
 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร, รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู

 

 

การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและประชาสังคมเพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณะ

เมื่อวันพุธ ที่ 9 มีนาคม 2565 ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) ได้จัดโครงการประชุม “การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและประชาสังคมเพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณะ” ณ ห้องประชุมประชาสโมสร 1 โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อแสวงหาแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีตัวแทนจากทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมประมาณ 50 ท่าน โดย รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู ได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเข้าร่วมเวทีเสวนาหัวข้อ “ความร่วมมือพหุภาคีเพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพในยุค New Normal ” และยังมี ว่าที่ร้อยเอก พงเจตน์ พรกุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น, คุณชัยวัฒน์ ประกิระเค ผู้อำนวยการส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 ขอนแก่น, คุณณัฐวุฒิ กรมภักดี กลุ่มเพื่อนคนไร้บ้าน เป็นผู้ร่วมเวทีเสวนา และดำเนินรายการโดย รศ.ดร. สถาพร เริงธรรม

 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ลงนาม MOU ร่วมกับ CPI

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ Community Partners International (CPI) โดยมี  Dr. Si Thura ซึ่งเป็น Executive Director ของ CPI กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ลงนาม โดยทั้งสองฝ่ายตกลงจะพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาด้านการวิจัย และการแลกเปลี่ยนบุคลากรในอนาคต 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร , นางสาวผุสดี ไกยวงษ์

การร่วมมือระหว่างพหุภาคี ในการขับเคลื่อนปัณหาฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดขอนแก่น

ในวันที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 14.30น-16.00น. ที่ผ่านมา คุณเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ มูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า คุณกฤตภาส      ปรุงศรีปัญญา ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น  รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู  คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณธนาวุช โนราช สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 ขอนแก่น  ตัวแทน สำนักงานป้องกันสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น (ปภ.) ผอ.สุภาวีร์ คะลา ผอ.ส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ขอนแก่น เป็นตัวแทนภาคีเครือข่าย ได้เข้าพบ ดร. สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในการมอบข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะประเด็น “ขอนแก่นอากาศสะอาดอย่างยั่งยืน” และหารือแนวทางการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศฝุ่น PM 2.5 ร่วมกัน

 

ภาพ ข่าวโดย / รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู

ศึกษาดูงานการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล ภายใต้มาตรการ D-M-H-T-T ณ เทศบาลตำบลชัยวารี อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

วันที่ 11 ก.พ. 2565 คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิรงค์ จังโกฏิ ได้นำนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกอนามัยสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 25 คน  ศึกษาดูงานการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล ภายใต้มาตรการ D-M-H-T-T ณ เทศบาลตำบลชัยวารี อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบการจัดการสิ่งปฏิกูล และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืนระดับประเทศ ประจําปี 2563 จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  โดยเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา “การควบคุมระบบบำบัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล” และโครงการวิจัย “การพัฒนาตัวแบบการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามขนาดและบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทั้งนี้ในการศึกษาดูงานได้รับการต้อนรับจากคณะผู้บริหารของเทศบาล นำโดยนายคำดี ธะนาสินธ์ รองนายกเทศมนตรี และนายพัฒพงษ์ กำหอม รองปลัดเทศบาล จากนั้น รับฟังการบรรยาย แลกเปลี่ยน หัวข้อ “การจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล” จาก นายพีระพงษ์  แดนประกรณ์  ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ศิษย์เก่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ รุ่นที่ 19 และ หัวข้อ “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” จาก จ่าเอก คมกริช สังวิเศษ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ และ อาจารย์ ดร.มนตรี  พิมพ์ใจ ผู้ร่วมทีมวิจัยของโครงการ ในช่วงเช้า และ ฝึกปฏิบัติการแยกองค์ประกอบของขยะ ในช่วงบ่าย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) ของรายวิชา

 

ภาพ ข่าวโดย/ ผศ.ดร.ฤทธิรงค์ จังโกฏิ