ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ประเด็นการจัดการปัญหามลพิษอากาศ PM 2.5

รองศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ สกุลคู หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ประเด็นการจัดการปัญหามลพิษอากาศ PM 2.5 เป็นวิทยากร ในหัวข้อ สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และความรุนแรง ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-17.00 น. ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ โรงแรมชาราวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (สสส) โดยมีผู้เข้าร่วมผู้แทน สสส, และนำเสนอจากนักวิชาการ จาก 4 จังหวัด ได้แก่

                     1.จังหวัดขอนแก่น 

                     2.จังหวัดอุดรธานี 

                     3.จังหวัดอุบลราชธานี

                     4.จังหวัดนครราชสีมา

          และในวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-17.00 น. ได้เป็นวิทยากรและประชุม ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ประเด็นกลไกการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ดำเนินงานโดย กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) มีผู้เข้าร่วมหลายหน่วยงาน ทั้งในส่วนของราชการ เอกชน อบต. รพ.สต. และเครือข่าย อสม. สส.อ. รวมทั้งสิ้น จำนวน 60 คน

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์  ปทุมพร / รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู

The 13th International Conference on Public Health among the Greater Mekong Sub-Regional (GMS) Countries

วันที่ 30 มิถุนายน ถึง 1 กรกฎาคม 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดี, ผศ.เนาวรัตน์ มณีนิล รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ, นางสาวจิดาภา พลางวัน ผู้อำนวยการกองบริหารงานคณะ พร้อมคณาจารย์ เดินทางเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ The 13th International Conference on Public Health among the Greater Mekong Sub-Regional (GMS) Countries ณ Hue University of Medicine and Pharmacy and Hanoi University of Public Health, Vietnam. ใน Theme “Enhancing transdisciplinary collaborations on Education and Research to tackle priority public health issues in the new Era” ทั้งนี้ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้เป็นตัวแทนคณะฯ ในการเข้ารับรางวัล Outstanding Contributions to Sustainable Development Goals โดย GMS Public Health Academic Network

ซึ่งการประชุมดังกล่าว ประกอบไปด้วยการปาฐกถาพิเศษ การเสวนาทางวิชาการ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งแบบปากเปล่าและโปสเตอร์ การประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการจำนวนมากจากหลายประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และประเทศจีน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของเครือข่ายทางวิชาการด้านสาธารณสุขลุ่มน้ำโขง ในการร่วมกันพัฒนางานด้านวิชาการ การวิจัยด้านสาธารณสุข เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชากรในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

 

 

 

 

 

 

 

ภาพ ข่าวโดย : นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร , นางสาวขวัญหทัย  สินเธาว์

โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรประเภทวิชาการ

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 น. คณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรประเภทวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ณ ห้องประชุม PH 2201 ชั้น 2 อาคารเลื่อน สุริหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ กล่าวเปิดงาน โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้

หัวข้อเรื่อง “เกณฑ์การยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ และการสร้างแรงบันดาลใจ เส้นทางอาจารย์สู่ตำแหน่งทางวิชาการ” บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ วงส์รัตนชีวิน อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านชีววิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น      

 

            

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร , นางสาวรจนา หมวดศรี

                                        

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คณะสาธารณศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ศูนย์วิชาการและพื้นที่ต้นแบบการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2566 ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยได้รับเกียรติจากท่านคณบดี ศาสตราจารย์ วงศา เล้าหศิริวงศ์ กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากอดีตรองอธิบดีกรมอนามัย (อาจารย์พิษณุ แสนประเสริฐ) อดีตผู้อำนวยการศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย (อาจารย์ศุมล ศรีสุขวัฒนา)  ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมครั้งนี้

  และศิษย์เก่าที่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้ร่วมแสดงความยินดีกับท่านคณบดี ศาสตราจารย์ วงศา เล้าหศิริวงศ์ เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์” วาระที่ 2

 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร , นางกรุณา โสฬสจินดา

โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรประเภทสนับสนุน

วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 น. คณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรประเภทสนับสนุน คณะสาธารณสุขศาสตร์ ณ ห้องประชุม PH 2201 ชั้น 2 อาคารเลื่อน สุริหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้

  หัวข้อเรื่อง “เกณฑ์การยื่นขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรประเภทสนับสนุน” บรรยายโดย นายสถิต แก้วบุดตา ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  หัวข้อเรื่อง “เส้นทางความก้าวหน้าในสายงานของบุคลากรประเภทสนับสนุน” บรรยายโดย นายจิรวัฒน์ อุ่นโรจน์ นักวิชาการแผนและสารสนเทศ ชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานงานแผนยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร , นางสาวรจนา หมวดศรี

 

การบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศด้านพิษวิทยา

การบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศด้านพิษวิทยา Prof.Dr.Herman AUTRUP, Aarhus University, Denmark and IUTOX/SOT Scientific Merit award in Toxicology.

 โดยได้รับเกียรติจากคณบดี (ศ.ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์) คณาจารย์ หลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ให้การต้อนรับ กิจกรรมจัดขึ้นระหว่าง 6-7 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ให้กับนักศึกษากว่า 150 คนทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อ

1. Biomarkers and adverse effects

2. How chemicals, nanoparticles induce diseases and waste management

เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิชาการและการวิจัยทางพิษวิทยาในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในกระบวนการและงานวิจัยด้านพิษวิทยาอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร