ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

สัมพันธ์ศิษย์เก่าสา’สุข สร้างสรรค์ต้นแบบระบบบำบัดน้ำเสียหน่วยไตเทียม

วันที่ 9 มิถุนายน 2563 ศิษย์เก่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย นางมาลา สรรพวุธ หัวหน้ากลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด อาจารย์ ดร.ฤทธิรงค์ จังโกฏิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ อาจารย์ ดร.ไกรวิชญ์ เรืองฤาหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร ร่วมลงพื้นที่และประชุมหารือร่วมกับโรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ในการนำผลการศึกษาวิจัยของ อาจารย์ ดร.ไกรวิชญ์ เรืองฤาหาร เพื่อสร้างต้นแบบระบบบำบัดน้ำเสียหน่วยไตเทียมของโรงพยาบาลหนองพอก ทั้งนี้ นายแพทย์กิตติศักดิ์ พนมพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองพอก และบุคลากรยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนการเป็นโรงพยาบาลต้นแบบระบบบำบัดน้ำเสียศูนย์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดการน้ำและพลังงานของโรงพยาบาล #คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่ายบริการวิชาการสู่ชุมชน #สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน Goal 6: Clean Water and Sanitation

ภาพ/ข่าว : ดร.ฤทธิรงค์ จังโกฏิ

 

ศูนย์ฯ EARTH ร่วมมือ 3 หน่วยงานรัฐ ลงพื้นที่ขอนแก่น ดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการระบบประปา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มข. โดย ศูนย์ฝึกอบรมวิจัยและการประเมินด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (EARTH) ร่วมกับ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 และ กองฝึกอบรมภูมิภาค 2 การประปาส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการ โครงการ “Collaborative research on improvement of water supply in rural communities of Thailand: Khoksi and Nong Toom Sub-district, Khon Kaen Province” ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดหาน้ำสะอาด และการผลิตน้ำประปา ระหว่าง 3 หน่วยงาน และเครือข่ายคณะทำงานคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยได้ลงสำรวจพื้นที่ศึกษา ณ ตำบลโคกสี และตำบลหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 และศึกษาดูงานพร้อมเยี่ยมชมการผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประเด็น Water Safety Plans และการบริหารจัดการระบบประปา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563

ข่าว/ภาพ โดย : ดร.ฤทธิรงค์  จังโกฏิ

 

การถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยเชิงพื้นที่สู่ชุมชนและเครือข่าย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์ และ อาจารย์แอนโทนี คัสเธอร์ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนเรื่อง การฟื้นฟูและแก้ปัญหา Eutrophication ในแหล่งน้ำจืด ที่ห้องประชุมสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยเชิงพื้นที่ตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ให้แก่หน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในพื้นที่ของตน ทั้งนี้ได้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 เรื่อง พร้อมแจกเอกสารคู่มือแนวทางการประเมินปัญหายูโทฟิเคชั่น การเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์และการแปลผลข้อมูล แก่ผู้เข้าร่วมงานด้วย ทั้งนี้ผู้ได้รับเชิญเข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้อำนวยการกองช่าง กองสิ่งแวดล้อมจากหลายเทศบาล เช่น เทศบาลเมืองเก่า เทศบาลบ้านเป็ด เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และเจ้าหน้าที่จาก สนง.สิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 

ข่าวโดย : ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์

 

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู ออกให้บริการวิชาการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ปัญหาฝุ่น PM2.5 : เผาป่าทำให้เกิดมลพิษจริงหรือ?”

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู อาจารย์ประจำสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยได้รับทุนจากสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการออกบริการวิชาการเพื่อสังคม จัดกิจกรรมภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ปัญหาฝุ่น PM2.5: เผาป่าทำให้เกิดมลพิษจริงหรือ?”

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือระหว่าง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CKDNET) คณะแพทยศาสตร์ และองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ปัญหาฝุ่น PM2.5 : เผาป่าทำให้เกิดมลพิษจริงหรือ?” ได้รับเกียรติจากท่านรองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ อาจารย์บัญชา พระพล เป็นประธานเปิดงาน นำทีมโดย รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู พร้อมกับทีมงาน และ นักศึกษาสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อมปีที่ 3 รวมจำนวน 30 คน ลงพื้นที่จัดงาน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นและหาแนวทางการจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5 ภายในชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพแก่ภาคประชาชน ภาครัฐ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดสร้างเครือข่ายองค์กรภายในชุมชนที่เข้มแข็งในการจัดการกับปัญหาด้านต่างๆ ต่อไป โดยผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 110 คน และให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างดีเยี่ยม

ข่าวโดย : รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู
รายงานข่าว : ศรศักดิ์ อุระ

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มข. จัดเสวนากู้วิกฤตผลกระทบ PM2.5 ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

คณะสาธารณสุขศาสตร์ และกลุ่มวิจัยป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CKDNET) ได้จัดเสวนาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศ PM2.5 ในหัวข้อเรื่อง “กู้วิกฤตผลกระทบPM2.5 ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” ภายใต้โครงการเสวนาวิจัยและบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ณ ปัจจุบัน และส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์  ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2563 ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 – 13.30 น. ณ ห้องประชุมตักศิลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.อุไรวรรณ อินทร์ม่วง  รองคณบดีฝ่ายบริหารและสื่อสารองค์กร เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมี รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู คณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมี ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมลพิษทั้งระบบ ภาคส่วนต่าง ๆ เช่น อาจารย์  นักวิจัย และนักศึกษามหาวิทยาลัย สื่อมวลชน และผู้ที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมงานกว่า 100 คน

ข่าวโดย : รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู
รายงานข่าวโดย : ศรศักดิ์ อุระ

 

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ออกให้บริการวิชาการเป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการฯ

รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม และ อ.ศิวานนท์ รัตนะกนกชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้รับเชิญจาก กรมการแพทย์ โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ เป็นวิทยากรบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การทบทวนอย่างเป็นระบบ (Systematic reviews)” รุ่นที่ 4 ระยะที่ 2 ให้แก่คณาจารย์ นักวิชาการ และบุคลากรทางการแพทย์ ในวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

ข่าวโดย : อ.ศิวานนท์  รัตนะกนกชัย