ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

อบรมโครงการการสร้างกลไกการเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 ของชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.30 น. ณ ศูนย์เยาวชนและครอบครัว เทศบาลนครขอนแก่น                       นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรี มอบหมายให้ นายบุญฤทธิ์ พาณิชย์รุ่งเรือง รองนายกเทศมนตรี เป็นประธานเปิดการอบรม "โครงการการสร้างกลไกการเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 ของชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น" โดยมี น.ส.ศิริกัลยา      โพธิ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม , นายทัศนัย ประจวบมอญ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมด้วย และได้รับเกียรติจาก ดร.นิลวดี พรหมพักพิง นักวิจัยกลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากรอบรม สำหรับการจัดอบรมโครงการการสร้างกลไกการเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 ของชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือประธานชุมชน อสม. และประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) แหล่งกำเนิด และแนวทางในการป้องกันแก้ไขและตอบโต้ฝุ่นละออง PM 2.5 ดูแลตัวเองสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายของฝุ่นละออง PM 2.5 และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ให้ความรู้แก่คนในครอบครัวและชุมชนต่อไปได้ รวมไปถึงพัฒนาชุมชนให้มีมาตรการและแนวทางการจัดการปัญหาจากฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ชุมชนต่อไปได้

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร, fb.เทศบานครขอนแก่น

มข. ร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 9th Asian Health Literacy Association International Conference 2023

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมความรอบรู้ด้านสุขภาพแห่งเอเชีย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 9th Asian Health Literacy Association International Conference 2023 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ จังหวัดภูเก็ต โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุม ทั้งนี้มีนายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และ Prof. Angela Leung, President, Asian Health Literacy Association (AHLA) Prof. Stephan Van de Brouke, Vice President, International Union for Health Promotion and Education (IUHPE) Prof. Peter Chang, Honor President of AHLA นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ นายกสมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย และยังมี รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม จากทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการทั้งในประทศไทยและต่างประเทศ

 

การประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง นักบริหาร นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งแบบโป้สเตอร์และแบบปากเปล่า มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอกว่า 200 ผลงาน และผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน จากหลากหลายประเทศ ซึ่งถือเป็นการประชุมวิชาการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การจัดประชุมวิชาการดังกล่าว ยังเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี Asian Health Literacy Association (AHLA)

ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ ศาตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัล Global  Health Literacy Award และรางวัล AHLA Network Achievement Award และคณาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ยังได้รับเชิญให้เป็นผู้วิพากย์ในห้องนำเสนอผลงานทางวิชาการ และเป็นผู้ร่วมให้คะแนนการนำเสนอผลงานแบบโป้สเตอร์ นอกจากนี้ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ยังได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ และร่วมงานกับคณะทำงานฝ่ายวิชาการ ในการประชุมวิชาการดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับทีมงานทั้งไทยและต่างประเทศ อีกด้วย

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร, นางสาวผุสดี  ไกยวงษ์

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับเกียรติการเผยแพร่ข่าวจากคณะกรรมาธิการนานาชาติด้านอาชีวอนามัย (ICOH) ในความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับ ILO

รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติจากคณะกรรมาธิการนานาชาติด้านอาชีวอนามัย (International Commission on Occupational Health; ICOH) เผยแพร่ข่าวสารและจากการสัมภาษณ์ในนิตยสารข่าวของคณะกรรมาธิการ นานาชาติด้านอาชีวอนามัย (ICOH Newsletter vol. 21 no.1) จากกิจกรรมความร่วมมือในฐานะผู้รับรางวัล ICOH ILO Fellowship กับหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนานาชาติขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ( International Labor Organization: ILO) และความร่วมมือด้านการวิจัยกับ University of Turin เมือง Turin ประเทศ Italy ในระหว่าง 15 มกราคมถึง 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมาธิการนานาชาติด้านอาชีวอนามัย หรือ ICOH จะจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ (ICOH Congress) ทุกๆ 3 ปี และจะขึ้นเร็วๆ นี้คือ ICOH 2024 ณ ประเทศ Morocco สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมหรืออ่านบทความออนไลน์ได้จาก https://www.icohweb.org/site/news.asp

เอกสารแนบท้าย https://kku.world/awjzo

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์  ปทุมพร

เทคนิคการวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT Analysis

คณะสาธารณสุขศาสตร์  จัดโครการสัมมนาจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาคณะสู่องค์กรที่เป็นเลิศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อทบทวนตัวชี้วัด มาตรการ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ของคณะฯ  และเพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ต่างๆ ในวันที่ 16 มีนาคม  2566  เวลา  08.30 -13.00 น. ณ ห้องประชุมตักศิลา ชั้น 1 อาคารอรุณ จิรวัฒน์กุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก  ดร.ศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล   คณบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากร หัวข้อ “เทคนิคการวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT Analysis”

 

 

 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์  ปทุมพร, นางสาวชัญญา   แสงสุริยา

 

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ได้รับการต้อนรับ อย่างอบอุ่น ที่ ILO (International Labour Organization) ประเทศอิตาลี

วันที่ 25 ม.ค. พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง (ด้านขวาในรูป) ประธานหลักสูตร M.Sc. Occupational Health and Safety คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการต้อนรับ อย่างอบอุ่น ที่ ILO (International Labour Organization) ประเทศอิตาลี ในฐานะ ILO fellowship .และทาง ICOH (International Commission on Occupational Health) ได้ประชาสัมพันธ์ข่าว ที่มาเยี่ยมและทำกิจกรรมด้าน OSH (Occupational Safety and Health) ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมายังไม่เคยมีคนไทยได้ขึ้นข่าวหน้า web ICOH มาก่อน

ที่มา:: https://www.icohweb.org/site/news-detail.asp?id=229

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู หัวหน้าโครงการประชุมพัฒนากรอบการถอดบทเรียน การเฝ้าระวังและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู หัวหน้าโครงการประชุมพัฒนากรอบการถอดบทเรียนการเฝ้าระวังและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้การดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 5 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมประชุมประเด็นปัญหาคุณภาพอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในประเทศ เป็นประเด็นที่รัฐให้ความสำคัญมาก่อนการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และจังหวัดขอนแก่นมีนโยบายขับเคลื่อนในเรื่องของการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

สำหรับการดำเนินโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในครั้งนี้เป็นผลมาจากข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา หน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวได้จัดประชุมเรื่องเกณฑ์และคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ 5 พื้นที่ดังนี้

          1.เทศบาลนครขอนแก่น (เป็นพื้นที่มีการจราจรคับคั่ง/การก่อสร้าง/โรงงาน)

          2.เทศบาลเมืองศิลา (มีปัญหาเรื่องการเผาในพื้นที่เกษตร แต่โดดเด่นเรื่องการจัดการขยะอินทรีย์)

          3.อบต.บ้านกง อ.หนองเรือ (บ้านท่าลี่ มีความโดดเด่น เรื่องกลุ่มธนาคารต้นไม้)

          4.เทศบาลตำบลบ้านค้อ (เป็นเขตที่มีการขนดินจากบ่อดินและการเผาในพื้นที่โล่งแจ้ง)

          5.โรงเรียนน้ำพองศึกษา (เป็นสถานศึกษาที่อยู่ใกล้โรงงานน้ำตาลและร่วมโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น)

และในโครงการนี้ได้เผยแพร่รายละเอียดโครงการที่ รายการวิทยุ FM103.5 มข วันศุกร์เวลา 10.10-11.00 น และ ช่อง YouTube พูดจาภาษาไทบ้าน โดย อาจารย์จิตติ กิจพงษ์ประพันธ์

Link Video --> https://www.youtube.com/watch?v=nHQOK0_LhsA


 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร, รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู