ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ร่วมงานบริการวิชาการรับเชิญจัดประชุมสัมมนา Symposium ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ณ เมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี

รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มข. ได้รับเชิญจัดประชุมสัมมนา Symposium ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ - Prevention of Work-Related Musculoskeletal Disorders  ณ เมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี

      ในระหว่างวันที่ 2 ถึง 5 กันยายน 2562 รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ได้รับเชิญให้จัดประชุมสัมมนา (Symposium) ในหัวข้อ Methods for health risk assessment and risk factors identification of occupational back pain ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ “10th International Scientific Conference on the Prevention of Work-Related Musculoskeletal Disorders (PREMUS-2019)ณ เมืองโบโลญญา (Bologna) ประเทศอิตาลี (Italy) ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมการวิชาการสมาพันธ์อาชีวอนามัยนานาชาติด้านโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน (International Commission of Occupation Healthof Scientific Committee on Musculoskeletal Disorders (ICOH-SC MSD) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมเพิ่มพูนความรู้ ให้กับผู้ที่สนใจทั้งแพทย์ พยาบาล นักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ที่มาเก็บเครดิต จำนวนชั่วโมงประสบการณ์ด้านวิชาชีพจากการเข้าประชุมวิชาการครั้งนี้ และเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อภิปรายร่วมกันระหว่างคณะกรรมการวิชาการของสมาพันธ์อาชีวอนามัยนานาชาติด้านการป้องกันโรคจากการทำงานกลุ่มอาการ MSDs ซึ่งการประชุมนี้มีขึ้นทุก3 ปีต่อครั้ง หมุนเวียนตามประเทศสมาชิกที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน

      ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้นำทีมอาจารย์และนักศึกษาภายใต้โครงการวิจัยด้านเออร์โกโนมิกส์ ไปจัด symposium ประกอบด้วย ผศ.ดร.พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, นางสาววรวรรณ ภูชาดา และ นางสาวณฤดี พลูเกษม นำเสนอผลงานด้านการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ภายใต้โปรแกรมการเฝ้าระวังโรคปวดหลังจากการทำงานที่ได้รับการจดสิขสิทธิ์โปรแกรมแล้วโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการพัฒนามาต่อเนื่องควบคู่กับบริการวิชาการด้านการประเมินความเสี่ยงและการเฝ้าระวังโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อให้กับโรงงานอุตสาหกรรม

ภาพและข่าว: เว็บเพจหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ม.ขอนแก่น
Link: https://www.facebook.com/MscOccPHKKU/posts/

 

งานวิจัยสู่บริการวิชาการเพื่อประโยชน์ต่อสุขอนามัยประชาชน

      วันที่ 3 กันยายน 2562 คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น ร่วมหารือแนวทางการดำเนินงานวิจัยและการบริการวิชาการสู่ชุมชน เรื่อง “Collaborative research on improvement of water supply in rural communities of  northeast Thailand” ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 และ กองฝึกอบรมภูมิภาค 2 การประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดหาน้ำสะอาด และการผลิตน้ำประปา โดยคำนึงถึงประโยชน์และสุขอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ

      ผู้ร่วมการประชุมประกอบด้วย Professor Yoshinobu Ishibashi, อ.ดร.ฤทธิรงค์ จังโกฏิ, ผอ.มงคล ธนะนาวานุกุล ผอ.ส่วนวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10, สถาบันเครือข่ายความร่วมมือ อ.ดร.จุทามาส แก้วสุข คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, นางสาสุจิรา ประสารพันธ์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก และ นางสาวนิภาพร มหาแสน นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น

     

ภาพ/ข่าวโดย : อ.ดร.ฤทธิรงค์ จังโกฏิ

 

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ร่วมงานบริการวิชาการรับเชิญเป็นกรรมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ISBM-11 ณ เมือง Leuven ประเทศ Belgium

รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มข. ได้รับเชิญเป็นกรรมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ISBM-11 จัดโดยคณะกรรมการวิชาการ ICOH-Occupational Toxicology และนำเสนอผลงานวิจัย ณ เมือง Leuven ประเทศ Belgium

      ในระหว่างวันที่ 28 ถึง 30 สิงหาคม 2562  รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตรปริญญาโท วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับเชิญให้ไปร่วมจัดงานประชุมวิชาการ “11th International Symposium on Biological Monitoring in Occupational and Environmental Health (ISBM-11) ณ เมืองลูเวน (Leuven) ประเทศเบลเยี่ยม (Belgium) ในฐานะของกรรมการวิชาการด้านพิษวิทยาอาชีวอนามัยของสมาพันธ์อาชีวอนามัยนานาชาติ (International Commission of Occupation Health- Scientific Committee on Occupational Toxicology-ICOH SC OT) วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมนี้เพื่อความร่วมมือทางวิชาการของเครือข่ายกรรมการพิษวิทยาอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากประเทศสมาชิกในการแลกเปลี่ยนความรู้ การค้นพบวิทยาการใหม่จากผลงานวิจัยและอภิปรายด้านดัชนีตัวชี้วัดการสัมผัสสารเคมีอันตรายของพนักงานจากการทำงานทั้งส่วนภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และจากสิ่งแวดล้อม โดยกรรมการวิชาการพิษวิทยาอาชีวอนามัย ICOH–SCOT ซึ่งมี Ms. Kate Jones เป็นประธานกรรมการ ICOH-SCOT จัดงานขึ้นด้วยความร่วมมือกับกรรมการวิชาการทีม ICOH-Toxic of Heavy Metal และ ICOH-Rural Health โดยปีนี้เจ้าภาพหลักคือ Katholieke University of Leuven, Belgium ที่มี Dr. Radu Duca หนึ่งในกรรมการ ICOH-SCOT เป็นเจ้าภาพหลักในการประชุมครั้งนี้ ด้วยทำให้มีผู้ร่วมงาน การบรรยายจาก keynote และนำเสนอผลงานวิจัย กว่า 400 เรื่องด้านพิษวิทยาอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

      ในครั้งนี้ รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วทม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้นำทีมอาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตร คือ ผศ.ดร.พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ อาจารย์ประจำหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ สม.วิทยาการระบาด นักศึกษาในหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย นางสาวกชกร อึ่งชื่น และนางสาวอุมากร ธงสันเทียะ ภายใต้โครงการวิจัยการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและการเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีจากการทำงานทั้งสารเคมีทางการเกษตรและสารไอระเหยง่ายกลุ่มบีเทค ไปร่วมนำเสนอทั้งรูปแบบวาจา (oral presentation) และโปสเตอร์ (poster presentation)

ภาพและข่าว: เว็บเพจหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ม.ขอนแก่น
Link: https://www.facebook.com/MscOccPHKKU/posts/

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ต้อนรับอาคันตุกะจาก CTU ประเทศเมียนมาร์

     คณะสาธารณสุขศาสตร์ ต้อนรับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จาก Chindwin Technological University ประเทศเมียนมาร์ นำโดย  Mr. George Kyaw Htin Latt ซึ่งเป็น CEO ของมหาวิทยาลัยดังกล่าวและคณาจารย์ เจ้าหน้าที่รวม 7 คน ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2562 วัตถุประสงค์ของการมาเยือนในครั้งนี้เพื่อหารือความร่วมมือทางวิชาการในอนาคตร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งคณะดังกล่าว ได้เข้าพบ รองศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และทีมผู้บริหาร คณาจารย์ของคณะฯ รวมถึงได้เข้าพบ อธิการบดี และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น และยังได้เข้าพบผู้บริหารของคณะวิชาต่างๆ อาทิ เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตการจัดการ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ยังได้เข้าเยี่ยมชม ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ (DAMASAC) ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ หอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ด้วย

ข่าวโดย : ผุสดี ไกยวงษ์

 

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับเชิญจากองค์กรนานาชาติ ไปบรรยายเรื่องบทบาทของคณะกรรมการวิชาการพิษวิทยาอาชีวอนามัยในการส่งเสริมงานทางด้านอาชีวอนามัยระดับนานาชาติ

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับเชิญจากองค์กรนานาชาติ ไปบรรยายเรื่องบทบาทของคณะกรรมการวิชาการพิษวิทยาอาชีวอนามัยในการส่งเสริมงานทางด้านอาชีวอนามัยระดับนานาชาติ

ในระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ถึง 3 สิงหาคม 2562, the South African Society of Occupational Medicine (SASOM) and the International Scientific Association for Occupational and Environmental Health in the Production and Use of Chemicals/ International Commission on Occupational Health (icoh) Scientific Committee on Occupational Health in the Chemical Industry (MEDICHEM) ได้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง  ประธานหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ไปบรรยายในหัวข้อ “บทบาทของคณะกรรมการวิชาการทางพิษวิทยาอาชีวอนามัยในด้านความปลอดภัยและการควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ (ICOH-Scientific Committee on Occupational Toxicology)” ที่งานประชุม “SASOM- MEDICHEM Joint Congress 2019 - Control of Substances hazardous to Health” ซึ่งจัดขึ้นที่เมือง Johannesburg ประเทศ South Africa

ความเป็นมาจาก International Commission on Occupational Health (icoh) เป็นสมาพันธ์อาชีวอนามัยนานาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1906 จากการรวมตัวกันของคณะกรรมการทางวิชาการในด้านที่เกี่ยวข้องในงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อคอยสนับสนุนวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ ความรู้ต่างๆ เพื่อการพัฒนางานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระดับสากลและทั่วโลก  ปัจจุบันนี้มีจำนวนสมาชิกผู้เชี่ยวชาญกว่า 3000 คน จากจำนวนกว่า 100 ประเทศสมาชิกทั่วโลก สมาพันธ์ประกอบด้วย คณะกรรมการทางวิชาการ 37 ชุดย่อย (http://www.icohweb.org) โดยคณะกรรมการวิชาการทางพิษวิทยาอาชีวอนามัย (Occupational Toxicology) เป็นชุดกรรมการวิชาการที่สำคัญซึ่งคอยส่งเสริม ผลักดันงานวิชาการ วิจัย และการประชุมวิชาการ เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางพิษวิทยาอาชีวอนามัยทุกด้าน ปัจจุบันมีสมาชิกซึ่งมาจากกว่า 50 ประเทศสมาชิกทั่วโลก โดยเน้นงานหลักทางด้านการประเมินการสัมผัสสารเคมีของคนทำงานด้วยระบบการเฝ้าระวังทางสุขภาพด้วยการประเมินดัชนีชี้วัดการสัมผัส (Biological monitoring) และการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านการสัมผัสสารเคมี ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของสมาชิกอย่างต่อเนื่องผ่านการเผยแพร่ผลงานร่วมกันออกสู่นานาชาติ ทั้งวารสารวิชาการ และการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติร่วมกับสมาชิกคณะกรรมการวิชาการชุดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Medichem, Rural Health, Nanomaterials, Toxicity of Metals เป็นต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ งานวิจัย และความร่วมมือต่างๆ ในการป้องกันการรับสัมผัสสารเคมี รับพิษจากการสัมผัสสารเคมี และโรคจากการทำงานของแรงงานได้ทุกกลุ่ม ทุกเชื้อชาติทั่วโลก

 

ภาพและข่าว: เว็บเพจหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ม.ขอนแก่น

Link: https://www.facebook.com/MscOccPHKKU/posts/

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์จัดประชุมวิชาการความท้าทายทางสุขภาพเพื่อการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 “การเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองทางสุขภาพ : PM2.5, มะเร็งและการฆ่าตัวตาย”

      ในระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2562 คณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดประชุมวิชาการความท้าทายทางสุขภาพเพื่อการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง “การเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองทางสุขภาพ : PM2.5, มะเร็งและการฆ่าตัวตาย” ณ โรงแรมโฆษะ ขอนแก่น ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานเปิดโครงการฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นผู้กล่าวรายงานโครงการฯ ซึ่งการจัดโครงการฯในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับรู้แนวโน้มการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเกี่ยวกับ “การเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองทางสุขภาพ : PM2.5, มะเร็งและการฆ่าตัวตาย” ของระดับชุมชน ระดับชาติและประเทศภูมิภาคอาเซียน และเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานทางวิชาการฯ และเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยระดับภูมิภาคระหว่างสถาบันวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเกี่ยวกับ “การเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองทางสุขภาพ : PM2.5, มะเร็งและการฆ่าตัวตาย” ของระดับชุมชน ระดับชาติและประเทศภูมิภาคอาเซียน

      โดยมีนักวิชาการ, อาจารย์, บุคลากรเจ้าหน้าที่ และนักศึกษาผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการฯในครั้งนี้จากเครือข่ายหลายประเทศ อาทิ ประเทศไต้หวัน, ประเทศเวียดนาม, ประเทศลาว และประเทศไทย

ข่าวโดย : นายศรศักดิ์  อุระ, ภาพโดย : นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร