รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับเชิญจากองค์กรนานาชาติ ไปบรรยายเรื่องบทบาทของคณะกรรมการวิชาการพิษวิทยาอาชีวอนามัยในการส่งเสริมงานทางด้านอาชีวอนามัยระดับนานาชาติ
ในระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ถึง 3 สิงหาคม 2562, the South African Society of Occupational Medicine (SASOM) and the International Scientific Association for Occupational and Environmental Health in the Production and Use of Chemicals/ International Commission on Occupational Health (icoh) Scientific Committee on Occupational Health in the Chemical Industry (MEDICHEM) ได้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ไปบรรยายในหัวข้อ “บทบาทของคณะกรรมการวิชาการทางพิษวิทยาอาชีวอนามัยในด้านความปลอดภัยและการควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ (ICOH-Scientific Committee on Occupational Toxicology)” ที่งานประชุม “SASOM- MEDICHEM Joint Congress 2019 - Control of Substances hazardous to Health” ซึ่งจัดขึ้นที่เมือง Johannesburg ประเทศ South Africa
ความเป็นมาจาก International Commission on Occupational Health (icoh) เป็นสมาพันธ์อาชีวอนามัยนานาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1906 จากการรวมตัวกันของคณะกรรมการทางวิชาการในด้านที่เกี่ยวข้องในงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อคอยสนับสนุนวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ ความรู้ต่างๆ เพื่อการพัฒนางานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระดับสากลและทั่วโลก ปัจจุบันนี้มีจำนวนสมาชิกผู้เชี่ยวชาญกว่า 3000 คน จากจำนวนกว่า 100 ประเทศสมาชิกทั่วโลก สมาพันธ์ประกอบด้วย คณะกรรมการทางวิชาการ 37 ชุดย่อย (http://www.icohweb.org) โดยคณะกรรมการวิชาการทางพิษวิทยาอาชีวอนามัย (Occupational Toxicology) เป็นชุดกรรมการวิชาการที่สำคัญซึ่งคอยส่งเสริม ผลักดันงานวิชาการ วิจัย และการประชุมวิชาการ เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางพิษวิทยาอาชีวอนามัยทุกด้าน ปัจจุบันมีสมาชิกซึ่งมาจากกว่า 50 ประเทศสมาชิกทั่วโลก โดยเน้นงานหลักทางด้านการประเมินการสัมผัสสารเคมีของคนทำงานด้วยระบบการเฝ้าระวังทางสุขภาพด้วยการประเมินดัชนีชี้วัดการสัมผัส (Biological monitoring) และการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านการสัมผัสสารเคมี ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของสมาชิกอย่างต่อเนื่องผ่านการเผยแพร่ผลงานร่วมกันออกสู่นานาชาติ ทั้งวารสารวิชาการ และการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติร่วมกับสมาชิกคณะกรรมการวิชาการชุดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Medichem, Rural Health, Nanomaterials, Toxicity of Metals เป็นต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ งานวิจัย และความร่วมมือต่างๆ ในการป้องกันการรับสัมผัสสารเคมี รับพิษจากการสัมผัสสารเคมี และโรคจากการทำงานของแรงงานได้ทุกกลุ่ม ทุกเชื้อชาติทั่วโลก
ภาพและข่าว: เว็บเพจหลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ม.ขอนแก่น
Link: https://www.facebook.com/MscOccPHKKU/posts/