^Back To Top
foto1 foto2 foto3 foto4 foto5

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา

           หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2554) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้าน บริหารสาธารณสุข วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม ระบาดวิทยา โภชนวิทยา สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ  ชีวสถิติและประชากรศาสตร์ มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะท้องถิ่น พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชา ด้านสาธารณสุข มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานปัจจุบัน    

1.2 วัตถุประสงค์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554)  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

            1.2.1 มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาทางด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            1.2.2  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาทางด้านสาธารณสุข ในการแก้ปัญหาการทำงานได้

            1.2.3  มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การค้นคว้า การวิเคราะห์วิจัย การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่

            1.2.4 มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีทักษะความพร้อมด้านสังคมที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต 

            1.2.5  มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับบุคคลอื่น และสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี

2. แผนพัฒนาปรับปรุง

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์

หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

การพัฒนาการเรียนการสอน

1. กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนมีการทำ วิจัยในชั้นเรียน

2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

3. กำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างน้อย 1 หัวข้อต่อ 1 วิชา

4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ E-learning ประกอบการเรียนการสอนอย่างน้อยร้อยละ 80 ของรายวิชาในหลักสูตรของคณะฯ

5. จัดประสบการณ์การเรียนรู้การแก้ปัญหาสาธารณสุขด้วยวิธีปฏิบัติจริงในชุมชน

6. พัฒนาทักษะการสอนของอาจารย์ที่เน้นการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้านความรู้ ทักษะปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคล ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ

1. มีจำนวนชั่วโมงหรือหัวข้อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

2. มีรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพสาธารณสุข

3. จำนวนรายวิชาที่มีการจัดการเรียนภาษาอังกฤษ

4. จำนวนรายวิชาที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ E-learning

5. จำนวนโครงการที่เกิดจากการฝึกประสบการณ์

6. จำนวนอาจารย์ที่ได้รับการพัฒนาการสอนการประเมินผลตามการเรียน ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาและร้อยละการได้งานทำของผู้สำเร็จการศึกษา

การพัฒนานักศึกษา

 

จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านศิลปวัฒนธรรมตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 6 ด้าน ได้แก่

1. ด้านการพัฒนาศักยภาพตนเอง

2. ด้านการสร้างเสริมจิตสำนึกความภาคภูมิใจในสถาบัน

3. ด้านการสร้างเสริมจิตสาธารณะ

4. การธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์และประชาคมโลก

5. ด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม

6. ด้านการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น

จำนวนกิจกรรมนักศึกษาที่ผ่านตามเกณฑ์รายปี

 

การเปลี่ยนแปลงจุดเน้นของหลักสูตร

เน้นความเป็นวิชาชีพด้านสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. มีรายวิชาในหมวดวิชาเลือกในวิชาชีพ จำนวน 6 หน่วยกิต

2. มีรายวิชาในหมวดวิชาบังคับ จำนวน 52 หน่วยกิต

การเพิ่มเนื้อหาใหม่ ๆ ที่สำคัญ

เพิ่มประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในชุมชน

มีรายวิชา 510 496 โครงการแก้ปัญหาสาธารณสุข ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานในชุมชนต้นแบบของคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะท้องถิ่น

Copyright © 2013. Bachelor of Public Health Program Rights Reserved.


Facebook twitter flicker skype youtube digg