^Back To Top
foto1 foto2 foto3 foto4 foto5

ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     :      สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ :      Bachelor of  Public Health  

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)      :   สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)       :   ส.บ.

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)  :   Bachelor of Public Health

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)   :   B.P.H.   

3. วิชาเอก

ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

120 หน่วยกิต      

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1   รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี

5.2   ภาษาที่ใช้

ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางรายวิชา

5.3   การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

5.4   ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

หลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

5.5   การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556  

คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 15/2554  

วันที่ 31 สิงหาคม 2554

สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2556  วันที่ 6  มีนาคม 2556

เปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษาที่ 2556

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2558

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 นักวิชาการสาธารณสุขประจำหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ

8.2 เป็นนักวิชาการสาธารณสุขประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

9. ชื่อ เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 ที่

ชื่อ-สกุล

เลขประจำตัวประชาชน

ตำแหน่งทางวิชาการ

คุณวุฒิ

1.

นายพงษ์เดช   สารการ

3-3401-00681-xx-x

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

วท.ม. (สถิติประยุกต์)

2.

นางศิริพร   คำสะอาด

3-7202-00033-xx-x

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วท.บ. (พยาบาล)

ส.ม. (ชีวสถิติ)

3.

นางเนาวรัตน์  ตั้งศรีทอง

3-3607-00458-xx-x

อาจารย์

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

วท.ม. (ปรสิตวิทยา)

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น    

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนถูกผลักดันให้มีการแข่งขันสูง ลักษณะการทำงานต้องเร่งรีบ เพื่อให้รองรับกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น คนในวัยแรงงานคือรุ่นพ่อแม่ต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือดอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเครียด นอกจากนี้ยังส่งผลต่อโครงสร้างครอบครัว จากการที่พ่อแม่หรือลูกหลานต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ ใช้เวลากับการทำงานนอกบ้าน หรือต่างจังหวัด ทำให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลงและขาดความแข็งแกร่ง กลุ่มเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุได้รับการดูแล เอาใจใส่จากครอบครัวน้อยลง จึงมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพในที่สุด ดังนั้น        การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต้องนำปัญหาสุขภาพของประชาชนมาพิจารณาอย่างรอบด้าน และให้ความสำคัญที่   สุขภาวะของประชาชนด้วย

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้คนไทยรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และรับวัฒนธรรมจากต่างชาติมากขึ้น  ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและลักษณะโครงสร้างของครอบครัวจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว การพัฒนาทางสังคมของประเทศไทยยังไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชากรทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ทำให้รูปแบบการดำรงชีวิตและบริบทอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย นอกจากนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพ จึงมีคนต่างชาติเข้ามารับบริการสุขภาพมากขึ้นทุกปี   

12. ผลกระทบจากข้อ 11 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ในการควบคุมป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มบทบาทของผู้สำเร็จการศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพแก่บุคคลทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ สามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

บูรณาการพันธกิจด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ ที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น เข้ากับการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชาทางด้านสาธารณสุขและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะท้องถิ่น การวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชนร่วมกับอาจารย์ โดยคำนึงถึงสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่เฉพาะของท้องถิ่นและประเทศซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลที่มุ่งการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง

13. ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่น ที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน

13.1 การบริหารหลักสูตรนี้ 

(1) แต่งตั้งผู้ประสานงานรายวิชาทุกภาควิชา เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาในการพิจารณาข้อกำหนดรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการดำเนินการ

       (2) มอบหมายคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น ควบคุมดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักสูตร

13.2 การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ มีคณะ/ภาควิชา/สาขาวิชาอื่นในมหาวิทยาลัยร่วมด้วยหรือไม่อย่างไร

มี 

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เปิดสอนโดยสำนักวิชาศึกษาทั่วไป 10 รายวิชา  

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มภาษา เปิดสอนโดยสถาบันภาษา 4 รายวิชา            

รายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ หมวดวิชาพื้นฐาน เปิดสอนโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์  29  รายวิชา

รายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต เปิดสอนโดยคณะต่าง ๆ ซึ่งขึ้นกับความสนใจของนักศึกษา

13.3 รายวิชาในหลักสูตรนี้มีผู้เรียนในสาขาอื่นเรียนด้วย ได้แก่ นักศึกษาจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

มี 5 รายวิชา คือ

(1) 511 414 การบริหารโครงการสาธารณสุข (Public Health Administration)

(2) 512 223 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety)

(3) 512 301 อนามัยสิ่งแวดล้อมขั้นแนะนำ (Introduction to Environmental Health)

(4) 513 201 วิทยาการระบาดและการควบคุมโรค (Epidemiology and Diseases Control)

(5) 515 211 สุขศึกษา (Health Education) 

Copyright © 2013. Bachelor of Public Health Program Rights Reserved.


Facebook twitter flicker skype youtube digg