ข่าวกิจกรรมด้านบริหารจัดการ

อาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Vertical Loop Reactor และลานกำจัดกากตะกอนแบบ Planted reed bed ที่เมือง Lancaster County รัฐ Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์ และ อาจารย์ Anthony C. Kuster จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ไปเที่ยวชมโรงบำบัดน้ำเสียถนน Beam หรือ Beam Road Wastewater Treatment Plant (WWTP) ที่เทศบาล Brecknock Township เมือง Lancaster County รัฐ Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับเกียรติจาก Mr. Jason Coyle ผู้อำนวยการเขต The Northern Lancaster County Authority (NLCA) เป็นผู้นำเยี่ยมชม แม้ว่า Beam Road WWTP เป็นระบบที่ไม่ใหญ่ โดยรับน้ำเสียแค่ 1,700 m3/d แต่ใช้วิธีการจัดการที่เป็นนวัตกรรมก้าวหน้า โดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบแนวตั้ง หรือ Vertical Loop Reactor (VLR) จำนวน 3 ชุด กระบวนการนี้สามารถลดปริมาณสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) และลดบีโอดีได้อย่างมาก โดยผ่านสภาวะไร้อากาศและแอโรบิคคล้ายกับระบบ Oxidation ditch ซึ่งระบบ VLR นี้มีแค่เพียง 30 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา 

      นอกจากนี้ NLCA เป็นหน่วยงานแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้กระจกรีไซเคิลปราศจากความคม (sharp-free glass) ในลากตากตะกอนแทนการใช้ทรายทั่วไปหรือที่รู้จักในชื่อ Sand bed filter นอกจากที่ใช้กระจกรีไซเคิลแล้วยังปลูกพืชพวกอ้อเล็ก อ้อน้อย (common reed) เป็นตัวกำจัดสารอาหารพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอีกด้วยซึ่งระบบลานตากตะกอนนี้เรียกว่า Planted reed bed

      ซึ่งการใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเหล่านี้ ทำให้โรงบำบัดน้ำเสียถนน Beam สามารถปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วซึ่งผ่านมาตรฐานน้ำที่ที่เข้มงวดสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำ Chesapeake Bay watershed ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญและอ่อนไหวในภาคตะวันออกของสหรัฐฯ ดังนั้นน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมีคุณภาพดีเยี่ยม โดย TSS น้อยกว่า 1 มิลลิกรัม / ลิตร , TN ประมาณ 3 มก./ล, TP ประมาณ 0.2 มก./ล. และ Fecal coliform ประมาณ 5 MPN / 100 มล.  นอกจากนี้ยังผลิตสารชีวภาพ (biosolids) จากกากตะกอน ประเภท EPA Class B ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้เป็นปุ๋ยได้

      ขอดีของระบบนี้ โดยรวมคือใช้พื้นที่น้อย ประหยัดไฟฟ้าได้มาก ไม่ต้องใช้สารเคมี มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสารอาหารพวกไนโตรเจนและฟอสโฟรัส น้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดมีคุณภาพสูงมากและ biosolid ที่เหลือยังสามารถนำมาเป็นปุ๋ยได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจจะมีการนำมาใช้กับประเทศไทยในอนาคตก็เป็นได้

          
      

รายงานข่าวโดย : ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์

 

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 13 มิถุนายน 2561 ณ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีสาระสำคัญของการทำข้อตกลงในครั้งนี้เพื่อ (1) พัฒนาศักยภาพบุคลากรของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ทางด้านการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (2) เพื่อสร้างความร่วมมือในการทำงานวิจัยระหว่างสองหน่วยงาน  ซึ่งหลังจากทำ MOU แล้ว ทั้งสองหน่วยงานจะประสานความร่วมมือระหว่างกันและจะสนับสนุนการดำเนินงานตลอดจนติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ตามบันทึกความเข้าใจให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นระยะต่อไป

รายงานข่าวโดย : อาจารย์ศิวานนท์ รัตนะกนกชัย

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีกับบุคลากร ในงาน “ชื่นชมยินดี ด้วยไมตรีและขอบคุณ” ประจำปี พ.ศ. 2561

วันอังคาร ที่ 5 มิถุนายน 2561 คณะสาธารณสุขศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  พิทักษานุรัตน์ คณบดี และบุคลากร เข้าร่วมงาน “ชื่นชมยินดี ด้วยไมตรีและขอบคุณ” ประจำปี พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุมสายสุรีย์ จุติกุล คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อแสดงความยินดีกับคณาจารย์และบุคลากรคณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่ได้รับรางวัล ทั้ง 8 ท่าน ดังนี้

 

1. นางสุดาวดี  ชัยเดชทยากุล

ได้รับรางวัล ข้าราชการพลเรือนดีเด่น

 

2. รศ.ยุพา ถาวรพิทักษ์

ได้รับรางวัล ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย 
ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก

 

3. รศ.พงษ์เดช สารการ

ได้รับรางวัล ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 
และรางวัล ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

 

4. รศ.ดร.นิรมล เมืองโสม

ได้รับรางวัล ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

 

5. ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์

ได้รับรางวัล ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

 

6. ผศ.ดร.ชนัญญา จิระพรกุล

ได้รับรางวัล ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

 

7. ผศ.ดร.เชษฐา  งามจรัส

ได้รับรางวัล ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

 

8. อ.ดร.พรพิมล  ชูพานิช

ได้รับรางวัล ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

ทั้งนี้ คณะฯ ขอแสดงความยินดีและขอยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรทุกท่าน ที่อุทิศตนทั้งกำลังกาย กำลังความคิดและสติปัญญา เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอย่างยิ่ง

ภาพบรรยากาศ

นางสุดาวดี  ชัยเดชทยากุล

รศ.ดร.นิรมล เมืองโสม

ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์

ผศ.ดร.ชนัญญา จิระพรกุล

ผศ.ดร.เชษฐา  งามจรัส

อาจารย์ ดร.พรพิมล  ชูพานิช

เอกฤทธิ์ ปทุมพร : ถ่ายภาพ, รายงานข่าวโดย : ขวัญหทัย สินเธาว์

 

ผศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรมได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายจากสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์

ผศ.ดร. พอใจ พัทธนิตย์ธรรม ได้รับเชิญจากสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ เป็นวิทยากร การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "The Cochrane Systematic Reviews: evidence to support healthcare decision" สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในวันที่ 6-7 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

รายงานข่าวโดย : อาจารย์ศิวานนท์ รัตนะกนกชัย

 

คณะกรรมการพัฒนานักศึกษา จัดโครงการจ้างงานเพื่อหารายได้พิเศษระหว่างเรียน แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี หนุนนักศึกษามีประสบการณ์ในการทำงาน

      วันที่ 4 มิถุนายน 2561 คณะกรรมการพัฒนานักศึกษา นำโดย รศ.ดร.พรรณี บัญชรหัตถกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา และบุคลากร เข้าร่วมการเปิดโครงการ “จ้างงานเพื่อหารายได้พิเศษระหว่างเรียนแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี” โดยนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการในช่วงปิดภาคเรียน (ระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2561) โครงการดังกล่าวใช้งบประมาณจากเงินรายได้คณะฯ จำนวน 150,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ มีประสบการณ์ในการทำงาน การอาชีพ ฝึกทักษะชีวิตและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้พิเศษระหว่างเรียนอีกด้วย

       การดำเนินการโครงการฯ ได้คัดเลือกนักศึกษาเข้าทำงานภายในกองบริหารงานคณะฯ และประจำสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งในครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 18 คน พิธีเปิดโดยได้รับเกียรติจาก รศ.กาญจนา นาถะพินธุ รองคณบดีฝ่ายบริหารและสื่อสารองค์กร เป็นประธานกล่าวให้โอวาทและเปิดโครงการฯ

ถ่ายภาพและรายงานข่าวโดย : นายศรศักดิ์ อุระ

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา งามจรัส จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาของโรคไม่ติดต่อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" ครั้งที่ 1

      ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2561 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา งามจรัส หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาของโรคไม่ติดต่อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมตักศิลาฯ โดยมีผู้เข้ารวมอบรมซึ่งเป็นนักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาลด้านโรค NCD และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดูแลฐานข้อมูลด้าน NCD จาก สสจ. สคร. โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลจังหวัด จากเขตสุขภาพที่ 7 และ 8

      การจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และแปลผลฐานข้อมูลของโรคไม่ติดต่อ ตลอดจนหน่วยงานด้านวิชาการสาธารณสุขได้ทำงานร่วมกันด้านการพัฒนาวิชาการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      โครงการดังกล่าวฯ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ อาจารย์จากหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เป็นหัวหน้าโครงการ “การสร้างความรู้ด้านระบาดวิทยาของโรคไม่ติดต่อสำหรับประเทศไทย” และได้รับเกียรติจากคณะวิทยากร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา งามจรัส หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มข. รองศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี แซ่ลิ่ม อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอ. (วิทยาเขตปัตตานี) อาจารย์ ดร.นิรันดร์ อิทนรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แพทย์หญิงพันธนีย์ ธิติชัย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ อาจารย์วิทชย เพชรเลียบ สาขาวิชาอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษชวลิตกุล

ถ่ายภาพและรายงานข่าวโดย : นายศรศักดิ์ อุระ