ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง คว้ารางวัล IUTOX Senior Fellowship จากเวทีนานาชาติ

คณะสาธารณสุขศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัล“IUTOX Senior Fellowship Award”  ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ  “The 16th International Congress of Toxicology (ICTXVI 2022 congress)” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-21 September 2022 เมือง Maastricht ประเทศเนเธอร์แลนด์ (The Netherlands) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้กว่า 1,500 คน จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 50 ประเทศ มีผู้นำเสนอผลงานวิขาการทางพิษวิทยา และการโชว์นิทรรศการวิชาการและผู้สนับสนุนมากกว่า 70 Exhibitors and sponsors โดยเจ้าภาพจัดงานครั้งนี้คือ The Dutch Society of Toxicology ร่วมกับ The International Union of Toxicology (IUTOX) and The European Society of Toxicology (EUROTOX) ใน หัวข้อ : Uniting in Toxicology โดยรางวัล IUTOX Senior Fellowship คัดเลือกนักพิษวิทยาจากทั่วโลกเพียง 1 รางวัล จากเกณฑ์ของผลงานวิจัยที่มีคุณภาพโดดเด่นด้านพิษวิทยามาอย่างต่อเนื่องและสั่งสมผลงานวิจัยมีมามากกว่า 10 ปี และ IUTOX วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมงานวิจัยโดยเฉพาะประเทศซึ่งต้องการการพัฒนางานด้านพิษวิทยาและการสัมผัสสารเคมีอันตราย สำหรับเงินรางวัลสนับสนุนจาก IUTOX ซึ่งประกอบจากสมาคมด้านพิษวิทยากว่า 60 สมาคม ทั่วโลก 1,395 USD และเชิญเข้าร่วมนำเสนอผลงานในงานICT2022 Congress โดยรองศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง นำเสนองานวิจัยเรื่อง “Assessment of exposure to benzene among gasoline station workers by using the applied risk matrix of OHSAS, inhaled benzene concentrations and the biomarker of exposure” งานประชุมนี้จะจัดขึ้นทุก 3 ปี ครั้ง ครั้งต่อไป ICT 2025 Congress จัดประชุม ณ เมือง ปักกิ่ง ประเทศจีน

นอกจากนั้น ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 3 กันยายน 2022 ทางสมาคม MEDICHEM (The Occupational Health of chemicals in the Industry) ได้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง ไปบรรยาย (Keynote speaker) เรื่อง “Occupational health risk assessment and risk factors related to health and industrial hygiene monitoring data on chemicals exposure of industrial workers” ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ “MEDICHEM Congress 2022” ที่จัดขึ้น ณ เมือง Dresden ประเทศเยอรมนี ก่อนเดินทางไปรับรางวัลที่ ICT 2022 Congress

 

 

ข่าว / ขวัญหทัย- ผุสดี     ภาพ / เอกฤทธิ์

The 12th International Conference on Public Health among GMS Countries 2022 Improving Equity and Intersectoral Collaboration to Combat Life Threatening Diseases, Health and Environmental Problems

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันเครือข่าย GMS Public Health Academic Network จัดการประชุมวิชาการนานาชาติสาธารณสุขอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 12 The 12th International Conference on Public Health among GMS Countries 2022 Improving Equity and Intersectoral Collaboration to Combat Life Threatening Diseases, Health and Environmental Problems ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2565 รูปแบบการจัดประชุม Onsite และ Online และการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพระดับชาติ ปี 2565 (The 1st Health Promoting University Network Conference: Health Promoting University for Sustainable Development by the Thai University Network-Health Promotion Network (TUN-HPH).) วันที่ 2 กันยายน 2565 ณ โรงแรมเดอะ แกรนด์ พาลาสโซ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี

ซึ่งในพิธีเปิดการประชุมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ว่าที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมี ศ.ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และ รศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาธิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก องค์ปาฐก 2 ท่าน ได้แก่ Dr. Nasir Hassan จาก WHO Regional Office for South-East Asia (WHO-SEARO) และ นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร เลขาธิการ ASEAN University Network - Health Promotion Sub-Network (AUN-HPN) ผู้อำนวยการโครงการสุขภาพโลก มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังมีวิทยากรที่มากประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ ร่วมแชร์ประสบการณ์ในประเด็นด้านสุขภาพและร่วมเป็นผู้เสนอแนะให้กับผู้นำเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมครั้งนี้ด้วย

การจัดประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ มีหน่วยงานผู้ร่วมจัดกว่า 12 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย

  1. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  4. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  6. คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  7. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  8. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  9. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  10. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  11. คณะสาธารณสุุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  12. สภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน

หน่วยงานเครือข่ายจากต่างประเทศ ประกอบด้วย

  1. Faculty of Public Health, University of Health Science, Lao PDR
  2. Hanoi University of Public Health, Vietnam
  3. Hue University of Medicine and Pharmacy, Vietnam
  4. National Institute of Public Health and School of Public Health, Cambodia
  5. University of Public Health, Myanmar

งานประชุมวิชาการในครั้งนี้มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมกว่า 400 คน และมีการนำเสนอทั้ง Oral และ Poster กว่า 200 เรื่อง ถือเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยไทยในการร่วมมือในการจัดเวทีทางวิชาการด้านสาธารณสุข เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานการวิจัยจากหลากหลายประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา จีน เนปาล มาเลเซีย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ โซมาเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี

การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 12 ปิดลงอย่างประทับใจ มีการมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้นำเสนอทั้งแบบ Oral Presentation และแบบ Poster Presentation ทั้ง On-Site และ Online มหาวิทยาลัยขอนอนแก่น ได้กล่าวขอบคุณสถาบันผู้ร่วมจัดการประชุมในครั้งนี้ และประกาศการจัดประชุมในครั้งต่อไป (ครั้งที่ 13) ซึ่งเจ้าภาพในการจัดการประชุมในครั้งต่อไปคือ Faculty of Public Health, Hue University of Medicine and Pharmacy ประเทศเวียดนาม

 

 

ข่าว / ขวัญหทัย- ผุสดี

ภาพ / เอกฤทธิ์

การประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) ประจำปี 2565 “HIA สู่การสร้างสังคมสมานฉันท์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) ประจำปี 2565 “HIA สู่การสร้างสังคมสมานฉันท์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในวันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมมงกุฎเพชร โรงแรมโฆษะ ขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีการเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ “15 ปี พรบ.สุขภาพแห่งชาติ กับการขับเคลื่อนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ” โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งภายในงานมีการจัดเวทีเสวนาด้วยกัน 3 เรื่อง ได้แก่

1. “โอกาสและความท้าทาย: ทิศทางการขับเคลื่อน HIA ของหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้หลักเกณฑ์ HIA ฉบับที่ 3” ดำเนินรายการโดย นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของภาคีเครือข่าย ในระดับต่างๆ (Best Practice)” ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3. “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนา Research mapping เพื่อพัฒนาประเด็นวิจัยการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพดำเนินรายการโดย รศ.ดร.วราภรณ์ บุญเชียง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พร้อมทั้งมีการนำเสนอนิทรรศการผลการดำเนินงานเด่น ภายใต้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และมีการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ระหว่างพื้นที่ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ดำเนินการภายใต้กระบวนการ HIA

กลุ่มที่ 1 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อประเมินผลกระทบจากนโยบายสาธารณะ

กลุ่มที่ 2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการให้บริการสาธารณสุขและการควบคุมโรค

กลุ่มที่ 3 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยว และสังคม

กลุ่มที่ 4 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กลุ่มที่ 5 การประยุกต์ใช้ HIA ในประเด็นอื่นๆ การศึกษาระบบหรือกลไกที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล

           กระทบด้านสุขภาพ การพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ

 

 

 

 

 

 

ภาพ ข่าวโดย : นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยคณะทำงานเครือข่าย HIA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์คือ พัฒนาอีสาน 20 จังหวัด สู่มิติใหม่ให้เป็น “ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง” เน้นแก้ไขปัญหาพื้นฐานควบคู่ไปกับการพัฒนาการวิจัยเพื่อใช้ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในภาค ให้มีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยอาศัยการประเมินผลด้านสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านเครือข่าย ศูนย์วิชาการ งานวิจัย และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เอื้อให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม โดยการพัฒนาศักยภาพคนและการจัดการความรู้ งานวิจัย การสร้างนวัตกรรม และเครื่องมือที่จะใช้ในการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพ อย่างต่อเนื่องและชัดเจน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ศ.ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการอบรม และรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ท่านสุทธิพงษ์      วสุโสภาพล กล่าวเปิดการอบรม ระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องมงกุฎเงิน โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น โดยมีเครือข่ายจากมหาวิทยาลัยทั่วภาคอีสาน นักวิชาการ ผู้นำชุมชน เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้

 

 
   

  

 

 

 

  

ภาพ ข่าวโดย : นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร / นางกรุณา โสฬจินดา

สุดปัง!! นักศึกษาหลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คว้ารางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยยอดเยี่ยม 3 รางวัล

สุดปัง!! นักศึกษาหลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คว้ารางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยยอดเยี่ยม จากงานประชุมวิชาการสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.) ปีที่ 30 ประจำปี 2565 (OHSWA Conference 2022) ในธีมงาน "OH&S Challenges in the world of future technologies and sustainability" เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิด

          โดยกิจกรรมในงานตลอดทั้ง 2 วัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้เกิดความยั่งยื่นในอนาคตทั้งจากนักวิชาการหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชนชั้นนำของประเทศ ซึ่งให้เกิดความร่วมมือของทั้งสองภาคส่วนพัฒนางานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อีกทั้งงานนี้ได้เปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้นำเสนอผลงานที่เป็นเทคโนโลยีอันสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชนได้ต่อไป

กิจกรรมส่วนหนึ่งในงาน นำโดย รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ประธานหลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับเชิญในการบรรยายหัวข้อ “Innovation for Health Risk Assessment & Digital Data for Health Surveillance, GC Smart Health Care, etc.”

พร้อมทั้งคณาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรฯ เข้าร่วมประชุมวิชาการทั้งแบบ onsite & online ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  อีกทั้งได้นำเสนอผลงานวิจัยทั้งในแบบ poster & oral presentation และได้คว้ารางวัลผู้นำเสนอยอดเยี่ยม ลำดับที่ 1 และลำดับที่ 3 ได้แก่

นายชวนากร เครือแก้ว ได้รับรางวัลผู้นำเสนอด้วยวาจายอดเยี่ยม อันดับที่ 1 เรื่อง “เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ท่าทางการทำงานของเกษตรกร FERA เปรียบเทียบกับมาตรฐาน REBA”

นางสาวกนกกาญจน์ เขาเขจร ได้รับรางวัลผู้นำเสนอด้วยวาจายอดเยี่ยม อันดับที่ 3 เรื่อง “การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนืิอตอนบน ประเทศไทย”

นางสาวกษมา คงประเสริฐ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 ประเภทนำเสนอโปสเตอร์ เรื่อง “การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์”

  

ทั้งนี้ ในนามหลักสูตรฯ ขอขอบคุณกิจกรรมดีๆ จากทาง ส.อ.ป. ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอัพเดทเทคโนโลยีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และในนามนักศึกษา วท.ม.อาชีวอนามัยฯ ขอขอบคุณทุนสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมบางส่วนจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มา ณ ที่นี้ด้วย

 

นำเสนอข่าวโดย หลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ภาพและข่าวโดย อาจารย์วรวรรณ ภูชาดา และหลักสูตร วท.ม.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ติดตามข่าวสารของหลักสูตรฯ ได้ที่ https://www.facebook.com/MscOccPHKKU

 

การเสวนา “วิชาชีพควบคุมทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี”

ในวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 18.00-20.00 น. สมาคมสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพ           อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สคอป.) ร่วมกับ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม การเสวนา “วิชาชีพควบคุมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ผ่านระบบ Zoom Meeting

กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ ทิศทางการขับเคลื่อนและสนับสนุนให้เกิดสภาวิชาชีพควบคุมทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ขับเคลื่อนงานและวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาร่วมเสวนา นำโดย

1. รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ เสวนาหัวข้อ “ความเป็นมาและความสำคัญของการขับเคลื่อนวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย”

2. รศ.ดร.วิทยา อยู่สุข คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และนายกสมาคมสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สคอป.) เสวนาหัวข้อ “การขับเคลื่อนวิชาชีพควบคุมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยสมาคมสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สคอป.)”

3. รศ.วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล  ประธานคณะกรรมการยก (ร่าง) ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะกรรมการบริหารสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์ประจำสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เสวนาหัวข้อ “สรุปประเด็นสำคัญของ (ร่าง) ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย”

 

โดยมี รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู หัวหน้าสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว และรศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ให้ความเห็นประเด็นการขับเคลื่อนสภาวิชาชีพควบคุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ผศ.ดร.ยุพรัตน์ หลิมมงคล และ อาจารย์วรวรรณ ภูชาดา เป็นผู้ดำเนินรายการ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากคณาจารย์จากสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งผู้ที่สนใจเข้าร่วมการเสวนา

 

นำเสนอข่าวโดย สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ภาพ ข่าวโดย /นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร / อาจารย์วรวรรณ ภูชาดา และ ผศ.ดร.ยุพรัตน์ หลิมมงคล