ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

ผศ.ดร.พฤกษ์ ตัญตรัยรัตน์ ออกบริการวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมจังหวัดอุดรธานีบูรณาการแผนลดก๊าซเรือนกระจก

ผศ.ดร.พฤกษ์ ตัญตรัยรัตน์ (ศูนย์ฝึกอบรม วิจัย และการประเมินด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม: EARTH) อาจารย์)ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะหัวหน้าโครงการ "การพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด จังหวัดอุดรธานี" ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา “โหนกระแสสิ่งแวดล้อม ลดโลกเดือด” ในประเด็นแผนลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดอุดรธานีและแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ร่วมเป็นวิทยากรกลุ่มปฏิบัติการบูรณาการแผนลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดอุดรธานี

จัดโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ ต.บ้านเหลื่อม อ.เมือง จ.อุดรธานี ผู้เข้าร่วมการประชุม คือ หน่วยงานราชการ และองคกรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่แผนการลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัดอุดรธานี และแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

ข่าวโดย : กรุณา โสฬสจินดา
รายงานข่าว : ศรศักดิ์ อุระ


 

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู เชิญเป็นวิทยากร ในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “คุณพร้อมหรือยัง....กับภัยภิบัติที่เกิดขึ้นทุกวัน? ถอดบทเรียนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู อาจารย์ประจำสาขาวิชา อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มข. ได้รับเชิญ เป็นวิทยากร ในงาน สัมมนาวิชาการ เรื่อง “คุณพร้อมหรือยัง....กับภัยภิบัติที่เกิดขึ้นทุกวัน? ถอดบทเรียนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมเอราวัณ ชั้น 1 โรงแรมพูลแมน ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น

เนื่องจากทางศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) ร่วมกับสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมจัดการประชุมการประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติครั้งที่ 23 และ 13th International Conference on Environmental Engineering, Science and Management ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมพูลแมน ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น นอกจากนั้นยังมีการสัมมนาพิเศษ เรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศและฝุ่น PM 2.5 ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยและสปป.ลาว” ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.30 น. ผู้ร่วมเข้าประชุมประมาณ 350 คน บรรยากาศเป็นไปอย่างราบรื่น

ข่าวโดย : รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู
รายงานข่าวโดย : ศรศักดิ์ อุระ


 

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ร่วมตัดสินรางวัล ILO Fellowship Award ในงาน ICOH 2024, Morocco, Africa

ระหว่างวันที 28 เม.ย. ถึง 3 พ.ค. 2567 รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง หัวหน้าสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น ร่วมงานประชุมThe 34th International Congress On Occupational Health; ICOH 2024 ณ เมือง Marrakesh ประเทศ Morocco โดยสมาพันธ์อาชีวอนามัย (International Commission On Occupational Health; ICOH) มี Prof. Dr. SK Kang, President (2024-2027) คนปัจจุบัน ภายใต้หัวข้อ “Enhancing Occupational Health Research and Practices: Closing the Gaps” ในงานนี้ รศ.ดร.สุนิสา ร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัล ILO Fellowship Award กับทีมคณะกรรมการอีก 4 ท่าน คือ คณะตัวแทนจาก ILO (Liza), past President ICOH (Prof. J Takara), ICOH Secretary Gen. (Dr. D Gagliadi) และ vice President ICOH-Dr. C Nogueira)

รางวัล ILO Fellowship Award มีขึ้นเพื่อการผลิตบุคลากรในวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่รับรองโดยบอร์ดนานาชาติ CSP (Certified safety professional) ให้กระจายไปยังทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างน้อย 2 คนต่อครั้ง ร่วมกับบอร์ดจากการจัดประชุม ICOH ซึ่งมีคณะกรรมการวิชาการผู้เชี่ยวชาญสาขาอาชีวอนามัยแขนงต่างๆ นักวิชาการ นักวิจัย มาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากทั่วโลก งานจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี ผู้ร่วมจากสมาชิก กว่า 2,000 คน จะจัดครั้งถัดไป คือ ICOH2027 ณ Mumbei, India (Feb 2027) และ ICOH 2030 ณ กรุง Rome, Italy

ภาพ/ข่าวโดย: ส.อ.ป. (Link: https://www.ohswa.or.th/ilo-fellowship-award)
รายงานข่าวโดย : ศรศักดิ์ อุระ

 

 

รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม และ รศ.ดร.เชษฐา งามจรัส อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ จากสาขาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ ร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ

รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม และ รศ.ดร.เชษฐา งามจรัส อาจารย์จากสาขาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้เข้าร่วมการประชุม Cochrane Malaysia-Indonesia-Thailand-Australia for Networking ในวันที่ 27 เมษายน 2567 ณ National Institutes of Health, Selangor, Malaysia โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานร่วมกัน รวมถึงการส่งเสริมการผลิตและการเผยแพร่การวิจัยเชิงสังเคราะห์ (Cochrane systematic reviews)
(รายละเอียดเพิ่มเติม https://malaysia.cochrane.org/news/cochrane-malaysia-indonesia-thailand-australia-meet-together-networking)

ข่าวโดย : รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม
งานงานข่าวโดย : ศรศักดิ์ อุระ


 

โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย พัฒนาต่อยอดงานประจำเป็นงานวิจัยสู่การขอตำแหน่งที่สูงขึ้น

ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย  โดยการนำงานประจำมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นการวิจัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ ครั้งที่ 2 ในระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2567 วิทยากรให้ความรู้ในครั้งนี้ได้แก่ ผศ.ดร.สุรชัย พิมหา และคณะ

โดยในวันที่ 23 เมษายน 2567 โดยได้รับเกียรติจากท่านคณบดี ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ กล่าวเปิดการอบรมและให้กำลังใจแก่บุคลากรสายสนับสนุนในการอบรมเพื่อพัฒนาต่อยอดในการนำไปขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ณ ห้องประชุม DAMASAC อาคารเลื่อน สุริหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์

ภาพ : เอกฤทธิ์ ปทุมพร
ข่าว : กรุณา โสฬสจินดา
รายงานข่าวโดย : ศรศักดิ์  อุระ


 

โครงการ"เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้ได้ทุน ได้ผลงานวิชาการ และได้รับบริการวิชาการแก่ชุมชน"

ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567 ฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงร่างวิจัยเพื่อตอบโจทย์วิจัยที่มีผลกระทบสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาโครงร่างงานวิจัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุน ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ประทีป พืชทองหลาง อาจารย์ประจำแผนกวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นวิทยากรให้ความรู้ ในหัวข้อ “วิเคราะห์โจทย์วิจัย  แหล่งทุน และเทคนิคการตั้งชื่อโครงการวิจัย การเขียนวัตถุประสงค์ การกรอกแบบฟอร์มแหล่งทุนต่างๆ” โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ประกอบด้วยคณาจารย์ นักวิชาการ

ภาพ : เอกฤทธิ์ ปทุมพร
ข่าว : กรุณา โสฬสจินดา
รายงานข่าวโดย : ศรศักดิ์  อุระ