ข่าวกิจกรรมด้านบริหารจัดการ

อาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Vertical Loop Reactor และลานกำจัดกากตะกอนแบบ Planted reed bed ที่เมือง Lancaster County รัฐ Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์ และ อาจารย์ Anthony C. Kuster จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ไปเที่ยวชมโรงบำบัดน้ำเสียถนน Beam หรือ Beam Road Wastewater Treatment Plant (WWTP) ที่เทศบาล Brecknock Township เมือง Lancaster County รัฐ Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับเกียรติจาก Mr. Jason Coyle ผู้อำนวยการเขต The Northern Lancaster County Authority (NLCA) เป็นผู้นำเยี่ยมชม แม้ว่า Beam Road WWTP เป็นระบบที่ไม่ใหญ่ โดยรับน้ำเสียแค่ 1,700 m3/d แต่ใช้วิธีการจัดการที่เป็นนวัตกรรมก้าวหน้า โดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบแนวตั้ง หรือ Vertical Loop Reactor (VLR) จำนวน 3 ชุด กระบวนการนี้สามารถลดปริมาณสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) และลดบีโอดีได้อย่างมาก โดยผ่านสภาวะไร้อากาศและแอโรบิคคล้ายกับระบบ Oxidation ditch ซึ่งระบบ VLR นี้มีแค่เพียง 30 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา 

      นอกจากนี้ NLCA เป็นหน่วยงานแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้กระจกรีไซเคิลปราศจากความคม (sharp-free glass) ในลากตากตะกอนแทนการใช้ทรายทั่วไปหรือที่รู้จักในชื่อ Sand bed filter นอกจากที่ใช้กระจกรีไซเคิลแล้วยังปลูกพืชพวกอ้อเล็ก อ้อน้อย (common reed) เป็นตัวกำจัดสารอาหารพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอีกด้วยซึ่งระบบลานตากตะกอนนี้เรียกว่า Planted reed bed

      ซึ่งการใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเหล่านี้ ทำให้โรงบำบัดน้ำเสียถนน Beam สามารถปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วซึ่งผ่านมาตรฐานน้ำที่ที่เข้มงวดสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำ Chesapeake Bay watershed ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญและอ่อนไหวในภาคตะวันออกของสหรัฐฯ ดังนั้นน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมีคุณภาพดีเยี่ยม โดย TSS น้อยกว่า 1 มิลลิกรัม / ลิตร , TN ประมาณ 3 มก./ล, TP ประมาณ 0.2 มก./ล. และ Fecal coliform ประมาณ 5 MPN / 100 มล.  นอกจากนี้ยังผลิตสารชีวภาพ (biosolids) จากกากตะกอน ประเภท EPA Class B ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้เป็นปุ๋ยได้

      ขอดีของระบบนี้ โดยรวมคือใช้พื้นที่น้อย ประหยัดไฟฟ้าได้มาก ไม่ต้องใช้สารเคมี มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสารอาหารพวกไนโตรเจนและฟอสโฟรัส น้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดมีคุณภาพสูงมากและ biosolid ที่เหลือยังสามารถนำมาเป็นปุ๋ยได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจจะมีการนำมาใช้กับประเทศไทยในอนาคตก็เป็นได้

          
      

รายงานข่าวโดย : ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์