ข่าวกิจกรรมด้านบริหารจัดการ

คณะสาธารณสุขศาสตร์มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ผู้บริหาร

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2559 บุคลากรสายสนับสนุนคณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมมอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ และขอพรจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ คณบดี และ นายอณัชปกรณ์ สาระรัตน์ หัวหน้าสำนักงานคณบดี เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 2559

คณะสาธารณสุขศาสตร์จัดสัมมนาบุคลากรสายสนับสนุน ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย นายอณัชปกร สาระรัตน์ หัวหน้าสำนักงานคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดสัมมนาบุคลากร สายสนับสนุน ครั้งที่ 1 ณ ห้องสมบัติ ชัยเพ็ชร ชั้น 2 อาคารอรุณ จิรวัฒน์กุล

   

 

 

 

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ร่วมสืบสานอัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 คณะสาธารณสุขศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ผู้บริหารและบุคลากร ร่วมกิจกรรมรณรงค์สืบสาน อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน ตักบาตร นุ่งซิ่น วันศีล วันพระ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งแรก และจะมีขึ้นทุกๆ วันพระ ณ คุ้มสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

โครงการอบรมสัมมนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ ปีการศึกษา 2558

หลักสูตร วท.ม. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการอบรมสัมมนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ ปีการศึกษา 2558 ในหัวข้อ “Climate Change and Living in Chemical World” เมื่อวันที่ 17-18 ธันวาคม 2558 โดยวิทยากร คือ Professor Dr. Herman Autrup, Professor Emeritus (President of Inter Union of Toxicology (IUTOX), USA)

เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่สอน ผู้ที่ทำวิจัย ในมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิชาการและการวิจัยทางพิษวิทยา ในงานอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในกระบวนการและงานวิจัยด้านพิษวิทยาอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมโดยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ

 


ภาพที่ 1 การต้อนรับ Professor Emeritus Dr. Herman Autrup

โดยคณบดี ผศ.ดร. สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์

ภาพที่ 2 การต้อนรับ Professor Emeritus Dr. Herman Autrup

โดย ศ.ดร.สุพรรณี พรหมเทศและ ผศ.ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง


ภาพที่ 3 ผู้เข้าร่วมโครงการสัมมนา ฯ


ภาพที่ 4 บรรยากาศการรับฟังการบรรยาย

   

ภาพ,ข่าวโดย :: นางสาวเมธินี ครุสันธิ์  

มข. จับมือมูลนิธิโตโยต้า มอบทุนโครงการ “หนูรักผักสีเขียวฯ”

คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการประชุมวิชาการโครงการ หนูรักผักสีเขียวและความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนและชุมชนและพิธีมอบทุนโครงการฯ ดังกล่าว ให้กับโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 48 โรงเรียน จากมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ทั้งนี้มี นักวิชาการ ผู้บริหารโรงเรียน และผู้ให้ความสนใจร่วมงาน กว่า 100 คน   ณ ห้องตักศิลา  คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พ.ย.  2558  ที่ผ่านมา
           โครงการหนูรักผักสีเขียวและความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนและชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบูรณาการกิจกรรมด้านสหกรณ์ ด้านการเกษตรและโครงการอาหารกลางวันเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาโรคโลหิตจางและโรคขาดโปรตีนและพลังงาน  ซึ่งโครงการดังกล่าวครอบคลุมนักเรียนระดับประถมศึกษาประมาณ 9,239 คน ใน 80 โรงเรียน 5 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ เลย และหนองบัวลำภู
            กิจกรรมแบ่งเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย โดยในภาคเช้ามีการชี้แจงแผนพัฒนาโครงการปี 2558-2559 ในส่วนที่ดำเนินการไปแล้วและแผนดำเนินการในอนาคต โดย รศ.พิษณุ อุตตมะเวทิน ผู้อำนวยการโครงการหนูรักผักสีเขียวและความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนและชุมชน
           ภาคบ่ายเป็นพิธีมอบทุนโครงการฯให้กับโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 48 โรงเรียน โดย นายประมนต์ สุธวงศ์ ประธานมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย
           รศ.พิษณุ อุตตมะเวทิน  ผู้อำนวยการโครงการหนูรักผักสีเขียวและความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนและชุมชน กล่าวว่า โครงการ หนูรักผักสีเขียวและความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนและชุมชน เริ่มต้นในปี 2542 โดยมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ จากการดำเนินโครงการ พบว่า การผลิตอาหารของโรงเรียนยังไม่สามารถพึ่งพาอาหารจากโรงเรียนได้อย่างพอเพียง เพราะฉะนั้นทางโครงการจึงเน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตอาหารด้วยการใช้แนวทางของความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)
           “การดำเนินการของเราได้กำหนดไว้ 5 ด้าน 1.มีให้ หมายถึง การส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตอาหารปลอดภัยหรือปลอดสารอย่างเพียงพอสำหรับโรงเรียนและชุมชน 2. เข้าถึง หมายถึง โรงเรียนและชุมชนสามารถหาซื้อได้ง่าย 3.พึงใจ หมายถึง สามารถตอบสนองความต้องการของนักเรียนหรือคนในชุมชน 4. ปลอดภัย หมายถึง อาหารที่ผลิตขึ้นในชุมชน หรือ โรงเรียน ต้องปลอดสารอันตราย 5.ราคาถูก ซึ่งการทำงานเราได้ร่วมมือกับ คณะต่างๆในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้เยาวชน รวมไปถึงชาวชุมชน มีสุขภาพดี อย่างยั่งยืน
            ทั้งนี้ทางโครงการได้ร่วมมือกับภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ คณะสัตวแพทย์ ในการพัฒนารูปแบบการผลิตอาหารปลอดภัยสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน ด้วยการสำรวจความต้องการของชนิดและปริมาณอาหารของโรงเรียน สำรวจระบบอาหารของชุมชน จัดทำแผนที่อาหาร ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยของชุมชน รวมถึงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและความปลอดภัยในอาหาร
            นาย สิทธิศักดิ์ ศรีนา ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านเชียงกรม จ.อุดรธานี หนึ่งในผู้บริหารโรงเรียนที่รับทุนจากโครงการหนูรักผักสีเขียวและความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนและชุมชนมากว่า 15 ปี กล่าวว่า
           ตั้งแต่รับทุนโรงเรียนนำมาใช้ในกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยมีนักเรียนตั้งแต่  ป.1– ป.6 เป็นผู้รับผิดชอบดูแลทั้งการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ตามความสนใจและชอบของตนเอง เห็นได้ว่านักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาโดยตลอด ทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจ นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารที่ตนเองมีส่วนร่วม เด็กมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและไม่เป็นโรคโลหิตจาง ทำให้สามารถเรียนรู้ตามช่วงวัยได้อย่างเต็มที่  นอกจากนั้นโรงเรียนยังมีเป้าหมายในการนำทุนไปใช้ในการผลักดันโครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เด็กสามารถนำความรู้ไปต่อยอดเพื่อการดำรงชีวิต
           “ในช่วงที่อยู่โรงเรียนเราอยากให้เด็กกินอิ่มและสมบูรณ์ด้านร่างกาย จิตใจ แต่หลังจากเรียนจบ เราอยากให้เด็กมีความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปด้วย เพราะความรู้ที่มีเกี่ยวกับการทำกิน  เป็นความรู้ที่มีค่าตลอดชีวิต ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านเชียงกรม จ.อุดรธานี กล่าวปิดท้าย

ข่าว : รวิพร สายแสนทอง

คณะสาธารณสุขศาสตร์จัดสัมมนาจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2559

เมื่อวันที่ 19-20 ตุลาคม 2558 คณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดประชุมสัมมนาการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2559 ณ เชียงคาน ริเวอร์ เมาเทน จังหวัดเลย โดยได้รับเกียรติ จาก รองศาสตราจารย์ ดร.เจียมจิต แสงสุวรรณ เป็นวิทยากร บรรยายเรื่องการเขียนโครงการ เพื่อขออนุมัติจัดกิจกรรม ซึ่งในปีงบประมาณ 2559 นี้ มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครงการให้น้อยลง แต่กิจกรรมต่างๆ ยังคงไว้เช่นเดิม ในการสัมมนาดังกล่าว มีผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการต่างๆ เข้าร่วมอย่างเนืองแน่น