ข่าวกิจกรรมด้านวิจัยและบริการวิชาการ และด้านการต่างประเทศ

การเสวนา “วิชาชีพควบคุมทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี”

ในวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 18.00-20.00 น. สมาคมสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพ           อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สคอป.) ร่วมกับ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม การเสวนา “วิชาชีพควบคุมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ผ่านระบบ Zoom Meeting

กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ ทิศทางการขับเคลื่อนและสนับสนุนให้เกิดสภาวิชาชีพควบคุมทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ขับเคลื่อนงานและวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาร่วมเสวนา นำโดย

1. รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ เสวนาหัวข้อ “ความเป็นมาและความสำคัญของการขับเคลื่อนวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย”

2. รศ.ดร.วิทยา อยู่สุข คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และนายกสมาคมสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สคอป.) เสวนาหัวข้อ “การขับเคลื่อนวิชาชีพควบคุมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยสมาคมสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สคอป.)”

3. รศ.วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล  ประธานคณะกรรมการยก (ร่าง) ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะกรรมการบริหารสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์ประจำสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เสวนาหัวข้อ “สรุปประเด็นสำคัญของ (ร่าง) ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย”

 

โดยมี รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู หัวหน้าสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว และรศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ให้ความเห็นประเด็นการขับเคลื่อนสภาวิชาชีพควบคุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ผศ.ดร.ยุพรัตน์ หลิมมงคล และ อาจารย์วรวรรณ ภูชาดา เป็นผู้ดำเนินรายการ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากคณาจารย์จากสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งผู้ที่สนใจเข้าร่วมการเสวนา

 

นำเสนอข่าวโดย สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ภาพ ข่าวโดย /นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร / อาจารย์วรวรรณ ภูชาดา และ ผศ.ดร.ยุพรัตน์ หลิมมงคล

รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม และ รศ.ดร.เชษฐา งามจรัส เป็นวิทยากรบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Introduction to Systematic (Cochrane) Reviews (ออนไลน์)

 

รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม และ รศ.ดร.เชษฐา งามจรัส สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกับ                  ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ และ ผศ.นพ. เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นวิทยากรบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Introduction to Systematic (Cochrane) Reviews (ออนไลน์) วันพฤหัสที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 9.00-16.30 น. ให้แก่บุคลากรในหน่วยงานของ WHO Collaborating Centre for Research Synthesis in Reproductive Health โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ดังกล่าว กว่า 50 คน จาก 18 ประเทศ

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร / รศ.ดร.พอใจ พัทธนิตย์ธรรม 

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสุขภาวะของเกษตรกร ให้แก่กลุ่มเครือข่ายในกลุ่มเกษตรกร โคก หนอง นา โมเดล อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู เข้าร่วมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสุขภาวะของเกษตรกร ให้แก่กลุ่มเครือข่ายเกษตรกร โคก หนอง นา โมเดล ภายใต้โครงการ “การพัฒนารูปแบบการสร้างสุขภาวะตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มเกษตรกร โคก หนอง นา โมเดล อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น” โดย อาจารย์ ดร.สุพัตรา วัฒนเสน และคณะ คณาจารย์ในสังกัดวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00-10.30 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล ศุพัฒฑิราห์ภรณ์ สุนทอง บ้านนาจาน หมู่ 11 ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น โดยบรรยายให้ความรู้ 3 หัวข้อ ได้แก่ การป้องกันโรคและความเสี่ยงจากการทำงานเกษตรกรรม เกษตรกรกับการทำงานอย่างไรให้ปลอดภัย (ตามหลักการยศาสตร์) ผลกระทบจากสารเคมีในเกษตรกรรมและการป้องกันอันตรายจากสารเคมี ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายพยุง เหล็กดี นายอำเภอมัญจาคีรี มาทำพิธีเปิดและฟังคำชี้แจงโครงการวิจัย เกษตรกรผู้เข้าร่วมอบรมได้ทำการทดสอบความรู้ทั้งก่อนและหลังการอบรม เพื่อวัดผลว่าได้รับความรู้ความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งจากผลจากการทำสอบสามารถสรุปได้ว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจในระดับดีมาก

 

 
 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร / รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู

โครงการเสวนาวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุข ตามสถานการณ์ปัจจุบัน ประจำปีงบประมาณ 2565 หัวข้อ “เหตุรำคาญด้านเสียงและความสั่นสะเทือน”

ในวันที่ 25 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ณ ห้องตักศิลา อาคารอรุณ จิรวัฒน์กุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดโครงการเสวนาวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุขตามสถานการณ์ปัจจุบัน ประจำปีงบประมาณ 2565 หัวข้อ “เหตุรำคาญด้านเสียงและความสั่นสะเทือน” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ (คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์) และนายวิรุฬห์ ฤกษ์ธนะขจร (ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น)  เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการดำเนินโครงการ ซึ่งมีหัวข้อในการเสวนาและวิทยากรดังนี้

(1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเสียงและผลกระทบต่อสุขภาพ  วิทยากรโดย รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคูหัวหน้าสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

(2) เทคนิคการตรวจวัดเสียงรบกวน การวิเคราะห์ แปลผล และเขียนรายงาน  วิทยากรโดย นายธนาวุธ โนราช นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น)

(3) กฎหมายสาธารณสุข กับการควบคุมเหตุรำคาญและการออกคำสั่งทางปกครองที่ถูกต้อง  วิทยากรโดย          นางสาวทัตพิชา  คลังกลาง  นิติกร หน่วยงานศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

(4) เทคโนโลยีการจัดการและแก้ไขปัญหาเสียงรบกวน  วิทยากรโดย อาจารย์ ดร. ชัชวาล อัยยาธิติ  อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 
 
 
  

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีผลต่อสุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 24 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมราชาวดีรีสอร์ทแอนด์โอเทล ได้มีการประชุมคณะทำงาน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีผลต่อสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำหรับพื้นที่การดำเนินงาน เป็นการนำร่องใน 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น อุดรธานี  นครราชสีมา และอุบลราชธานี โดยขอนแก่นมีการดำเนินใน 2 กิจกรรมหลัก  คือ

(1) การพัฒนาแนวทางรูปแบบการบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดขอนแก่น        มี รศ.ดร.บัวพันธ์  พรมพักพิง กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้รับผิดชอบหลัก 

(2)การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)  ในจังหวัดขอนแก่น                      มี รศ.รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู คณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก โครงการนี้มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 1 มี.ค 65 - ส.ค 66

 

 
 
 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร, รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู

 

 

การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและประชาสังคมเพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณะ

เมื่อวันพุธ ที่ 9 มีนาคม 2565 ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) ได้จัดโครงการประชุม “การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและประชาสังคมเพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณะ” ณ ห้องประชุมประชาสโมสร 1 โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อแสวงหาแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีตัวแทนจากทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมประมาณ 50 ท่าน โดย รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู ได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเข้าร่วมเวทีเสวนาหัวข้อ “ความร่วมมือพหุภาคีเพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพในยุค New Normal ” และยังมี ว่าที่ร้อยเอก พงเจตน์ พรกุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น, คุณชัยวัฒน์ ประกิระเค ผู้อำนวยการส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 ขอนแก่น, คุณณัฐวุฒิ กรมภักดี กลุ่มเพื่อนคนไร้บ้าน เป็นผู้ร่วมเวทีเสวนา และดำเนินรายการโดย รศ.ดร. สถาพร เริงธรรม

 

 

 

ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร