รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู หัวหน้าโครงการประชุมพัฒนากรอบการถอดบทเรียนการเฝ้าระวังและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้การดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 5 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมประชุมประเด็นปัญหาคุณภาพอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในประเทศ เป็นประเด็นที่รัฐให้ความสำคัญมาก่อนการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และจังหวัดขอนแก่นมีนโยบายขับเคลื่อนในเรื่องของการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
สำหรับการดำเนินโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในครั้งนี้เป็นผลมาจากข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา หน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวได้จัดประชุมเรื่องเกณฑ์และคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ 5 พื้นที่ดังนี้
1.เทศบาลนครขอนแก่น (เป็นพื้นที่มีการจราจรคับคั่ง/การก่อสร้าง/โรงงาน)
2.เทศบาลเมืองศิลา (มีปัญหาเรื่องการเผาในพื้นที่เกษตร แต่โดดเด่นเรื่องการจัดการขยะอินทรีย์)
3.อบต.บ้านกง อ.หนองเรือ (บ้านท่าลี่ มีความโดดเด่น เรื่องกลุ่มธนาคารต้นไม้)
4.เทศบาลตำบลบ้านค้อ (เป็นเขตที่มีการขนดินจากบ่อดินและการเผาในพื้นที่โล่งแจ้ง)
5.โรงเรียนน้ำพองศึกษา (เป็นสถานศึกษาที่อยู่ใกล้โรงงานน้ำตาลและร่วมโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น)
และในโครงการนี้ได้เผยแพร่รายละเอียดโครงการที่ รายการวิทยุ FM103.5 มข วันศุกร์เวลา 10.10-11.00 น และ ช่อง YouTube พูดจาภาษาไทบ้าน โดย อาจารย์จิตติ กิจพงษ์ประพันธ์
Link Video --> https://www.youtube.com/watch?v=nHQOK0_LhsA
ภาพ ข่าวโดย / นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร, รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู